เล่ม ๑๓๙ ตอนที่ ๖๖ ก
๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๕
ราชกิจจานุเบกษา
ท้ายพระราชบัญญัตินี้ เป็นความผิดทางพินัยตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ถือว่า อัตราโทษปรับทางปกครองที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าวเป็นอัตราค่าปรับเป็นพินัยตามพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีที่กฎหมายตามวรรคหนึ่งได้กำหนดเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจปรับทางปกครองไว้แล้ว ให้ถือว่า กฎหมายนั้นได้บัญญัติให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นเป็นผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัยตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่กฎหมายดังกล่าวมิได้กำหนดเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจปรับทางปกครองไว้ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา ๑๔ เป็นผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัย
มาตรา๔๔บรรดาความผิดทางพินัยที่เปลี่ยนจากความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียวตามมาตรา ๓๙ มาตรา ๔๐ หรือมาตรา ๔๒ หรือความผิดที่มีโทษปรับทางปกครองตามมาตรา ๔๓ ที่ได้กระทำก่อนวันที่เปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัย ให้มีอายุความตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่เปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัยดังกล่าว ในกรณีที่กฎหมายที่มีโทษปรับทางปกครองใดไม่ได้กำหนดอายุความไว้ในกฎหมายนั้น ให้มีอายุความตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา๔๕บรรดาความผิดอาญาที่เปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัยตามมาตรา ๓๙ มาตรา ๔๐ หรือมาตรา ๔๒
(๑)ถ้าอยู่ในระหว่างการดำเนินการของผู้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับ ให้ถือว่า ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับนั้นเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ และดำเนินการปรับเป็นพินัยไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒)ถ้าอยู่ในระหว่างการดำเนินการของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี ส่งเรื่องไปให้เจ้าหน้าที่ของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัยเพื่อดำเนินการต่อไป
(๓)ถ้าอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ให้ศาลพิจารณาปรับเป็นพินัยตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา๔๖ผู้ใดต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดอาญาที่เปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัยตามมาตรา ๓๙ มาตรา ๔๐ หรือมาตรา ๔๒ ให้ผู้นั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และให้ถือว่า ผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้าผู้นั้นยังถูกกักขังแทนค่าปรับอยู่ ก็ให้การกักขังนั้นสิ้นสุดลง และค่าปรับที่ยังไม่ได้ชำระ ให้เป็นอันพับไป