หน้า:พรบ ราชบัณฑิตฯ ๒๕๕๘.pdf/3

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๐ ก

๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
หน้า ๓
ราชกิจจานุเบกษา

(๙) จัดสวัสดิการ การสงเคราะห์และสิทธิประโยชน์อื่นแก่สมาชิกราชบัณฑิตยสภา ทั้งนี้ ตามระเบียบราชบัณฑิตยสภา

(๑๐) ปฏิบัติการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

มาตรา มาตรา ๙ ให้แบ่งงานทางวิชาการของราชบัณฑิตยสภาออกเป็นสำนัก ดังนี้

(๑) สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

(๒) สำนักวิทยาศาสตร์

(๓) สำนักศิลปกรรม

การจัดตั้งสำนักขึ้นใหม่ การยุบ การรวม การเปลี่ยนชื่อ หรือการแยกสำนัก ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

มาตรา ๑๐ การกำหนดประเภทวิชาในแต่ละสำนัก และการแบ่งประเภทวิชาออกเป็นสาขาวิชาให้ทำเป็นข้อบังคับราชบัณฑิตยสภา

มาตรา ๑๑ ข้อบังคับราชบัณฑิตยสภาให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

หมวด ๒
สมาชิก

มาตรา ๑๒ ราชบัณฑิตยสภามีสมาชิก ๓ ประเภท คือ

(๑) ภาคีสมาชิก

(๒) ราชบัณฑิต

(๓) ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์

มาตรา ๑๓ ภาคีสมาชิก ได้แก่ บุคคลผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔ และมีคุณวุฒิตามมาตรา ๑๕ ซึ่งสมัครเข้าเป็นภาคีสมาชิกของสำนักใดสำนักหนึ่งตามข้อบังคับราชบัณฑิตยสภาและสำนักนั้นได้มีมติรับเป็นภาคีสมาชิกแล้ว

มาตรา ๑๔ ผู้สมัครเป็นภาคีสมาชิกต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(๑) มีสัญชาติไทย

(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์

(๓) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

(๔) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(๕) ไม่มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง

มาตรา ๑๕ ผู้สมัครเป็นภาคีสมาชิกต้องมีคุณวุฒิเป็นผู้ที่มีความรู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยได้รับปริญญา ประกาศนียบัตร หรือตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในข้อบังคับราชบัณฑิตยสภา และได้ใช้คุณวุฒิแสดงความสามารถอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้