หน้า:พรบ วิอ ๑๑๕.pdf/7

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๖๒
เล่ม ๑๓
ราชกิจจานุเบกษา

พิจารณาได้สมจริงดังนั้น ย่อมเปนการไม่มีโทษตามกฎหมายจริงฤๅไม่จริง




เมื่อได้ชี้ขาดตามความซึ่งได้กล่าวมาข้างต้นนี้แล้ว เหนว่า จำเลยไม่ได้กระทำการผิดล่วงลเมิดต่อกฎหมายแล้ว ก็ให้มีคำสั่งเด็ดขาดในคำพิพากษาตัดสินให้ปล่อยจำเลยหลุดพ้นไปทีเดียว




เมื่อได้ชี้ขาด เหนว่า จำเลยได้ทำการผิดโดยมีเหตุต่าง ๆ อันควรจะทวีโทษให้หนักฤๅไม่ก็ดี แลกระทำผิดโดยมีเหตุต่าง ๆ อันควรจะลดหย่อนผ่อนโทษได้ฤๅไม่ก็ดี แลการผิดนั้นไม่มีข้อยกเว้นโทษไว้ในกฎหมาย ดังนี้แล้ว ก็ให้ผู้พิพากษาลงเนื้อเห็นชี้ขาดพิพากษาตัดสินว่าโทษจำเลยลงให้ชัดเจนโดยโทษานุโทษตามพระราชกำหนดกฎหมายซึ่งคงใช้อยู่ในสมัยนั้น



มาตรา ๒๓ ในเวลาประชุมพิพากษาตัดสินคดีทุก ๆ เรื่องนั้น ให้อธิบดีผู้พิพากษาถามผู้พิพากษาทั้งปวงผู้นั่งประชุมอยู่ด้วยให้แสดงความเห็นของตนเรียงตัวไปทีละคนในข้อความซึ่งจะต้องวินิจฉัยให้ตกลงเด็ดขาดกันนั้นจงทุก ๆ ข้อ แต่ให้อธิบดีผู้พิพากษาแสดงความเห็นของตนภายหลังผู้พิพากษาทั้งปวง แลให้วินิจฉัยข้อความทุก ๆ ข้อเปนตกลงกันตามความเห็นของผู้พิพากษาซึ่งมากกว่ากันนั้น

ถ้าในข้อความอันเดียวกันนั้น มีผู้พิพากษาแสดงความเห็นแตกต่างกันออกไปกว่า ๒ พวกแล้ว แลถ้าจะวินิจฉัยความข้อนั้นเอาเปนตกลงกันตามความเห็นของผู้พิพากษาซึ่งเห็นมากกว่ากันนั้นไม่ได้แล้ว ดังนี้ ก็ให้ผู้พิพากษาผู้ซึ่งมีความเห็นว่าจำเลยมีพิรุทธ์แรงกว่าผู้พิพากษาคนอื่น ๆ นั้นยอมลงเนื้อเห็นด้วยกับผู้พิพากษาผู้อื่นซึ่งมีความเห็นว่าจำเลยมีพิรุทธ์น้อยกว่าความเหนนั้น

ในการลงความเหนในข้อความที่ควรฟังเอาเปนจริงฤๅไม่ก็ดี ในข้อบทกฎหมายที่ประกอบใช้นั้นก็ดี ให้ผู้พิพากษาทั้งปวงพิจารณาเอาแต่โดยที่เหนบริสุทธิ์แก่ใจ แลปราศจากอะคะติ ๔ ประการ อย่าได้ปล่อยให้จิตรของตนลำเอียงไปด้วยความเหนแก่น่าบุทคล ฤๅเหนแก่พวกพ้องฤๅประชุมชนใด ๆ เพื่อว่าคำพิพากษาตัดสินของผู้พิพากษาเหล่านี้จะได้ประกอบไปด้วยความสัตย์แลความยุติธรรมอย่างยิ่งที่จะเปนไปได้



มาตรา ๒๔ ถ้าฝ่ายโจทย์ฤๅฝ่ายจำเลย