หน้า:พรบ วิอ ๑๑๕.pdf/9

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๖๔
เล่ม ๑๓
ราชกิจจานุเบกษา


มาตรา ๓๐ เมื่อถึงวันกำหนดนัดพิจารณาความอุทธรณ์แล้ว ให้ศาลอุทธรณ์อ่านถ้อยคำสำนวนในความเดิมแลฟ้องอุทธรณ์จนจบ แล้วให้ฟังคำชี้แจงมูลคดีของเจ้าพนักงานกรมอัยการผู้รักษากฎหมาย ฤๅถ้าในความเดิมนั้นมีโจทย์ว่ากล่าว ก็ให้ฟังคำชี้แจงของโจทย์แลจำเลยในความเดิม ฤๅคำของทนายฝ่ายโจทย์แลฝ่ายจำเลย



มาตรา ๓๑ ถ้าศาลอุทธรณ์พิเคราะห์ดู เหนจำเปนจะต้องพิจารณาข้อประเด็นข้อใดข้อหนึ่งซึ่งมีอยู่ในฟ้องอุทธรณ์ออกดูให้แจ่มแจ้งแล้ว ก็ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเรียกพยานซึ่งได้ให้การไว้ในความเดิมนั้นมาสืบอีกครั้งหนึ่งก็ได้ ฤๅให้เรียกคนอื่นฤๅสิ่งสำคัญอื่นมาสืบเปนพยานใหม่อีกก็ได้ การสืบพยานอีกดังว่ามานี้ ศาลอุทธรณ์ดำริห์เหนสมควรให้สืบเองก็ได้ ฤๅฝ่ายโจทย์ฝ่ายจำเลยจะขอให้สืบ ก็ให้ศาลอุทธรณ์อนุญาตตามความประสงค์ สุดแต่ศาลอุทธรณ์จะดำริห์เหนสมควร



มาตรา ๓๒ ข้อบังคับสำหรับการสืบพยานดังมีอยู่ในมาตรา ๑๒ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ แลมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ก็ให้เอามาใช้ในการสืบพยานชั้นพิจารณาความอุทธรณ์ความอาญาซึ่งมีโทษหลวงได้ทุกประการ



มาตรา ๓๓ ศาลอุทธรณ์จะต้องพิพากษาตัดสินในวันพิจารณาเสร็จสำนวนแล้ว ฤๅภายในกำหนดสามวันนับตั้งแต่วันพิจารณาเสร็จสำนวนแล้วเปนต้นไป แต่ศาลอุทธรณ์จะต้องแจ้งความให้ฝ่ายโจทย์แลจำเลยทราบวันแลเวลาที่ศาลอุทธรณ์กำหนดจะพิพากษาตัดสินด้วย



มาตรา ๓๔ ในการพิพากษาตัดสินชั้นอุทธรณ์ความอาญาซึ่งมีโทษหลวงนี้ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเต็มที่จะยกเสีย ฤๅเปลี่ยนแปลง ฤๅแก้ไข ฤๅเอาตามคำวางบทปรับโทษของศาลซึ่งต้องอุทธรณ์ แล้ววางบทปรับโทษในครั้งที่สุดตามแต่ศาลอุทธรณ์จะดำริห์เหนว่าศาลเดิมควรต้องวางบทปรับโทษฉะนั้น คือ พิพากษาให้ปล่อยตัวจำเลยหลุดพ้นไป ฤๅพิพากษาให้ลงโทษจำเลยตามความผิด ฤๅลดหย่อนผ่อนโทษ ฤๅทวีโทษขึ้นซึ่งศาลเดิมได้พิพากษาปรับไว้แต่เดิม สุดแต่ะจะเหนชอบด้วยกฎหมายแลยุติธรรม