หน้า:พรบ แก้ไข พรบ กรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ พศ ๒๔๕๗.pdf/3

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๔๕๗
เล่ม ๓๑ น่า ๔๖๔
ราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๕  ถ้าหนังสือเรื่องใดได้พิมพ์ขึ้นโดยไม่มีชื่อผู้แต่งแล้ว การจดฐเบียร จะจดแต่ชื่อแลที่สำนักอาศรัยของผู้พิมพ์หนังสือคนแรกนั้นลง แทนชื่อแลที่อยู่ของผู้แต่งหนังสือ ก็ให้เปนการใช้ได้ แต่ต้องให้ผู้แต่งหนังสือนั้นมีอำนาจที่จะแปลแลเพิ่มจำนวนเล่มที่แต่งให้มากขึ้นได้เสมอ เว้นไว้แต่ผู้แต่งกับผู้ที่มีชื่อปรากฎว่าเปนเจ้าของกรรมสิทธิ์จะได้ทำสัญญากันไว้เปนอย่างอื่นเท่านั้น
มาตรา ๖  คำที่ว่า กรรมสิทธิ์ นั้น ให้เปนที่เข้าใจแลหมายความว่า อำนาจสิทธิ์ขาดแต่ผู้เดียวในการที่จะพิมพ์ จะแปล หรือจะเพิ่มจำนวนเล่มหนังสือที่แต่ง ซึ่งมีคำว่า กรรมสิทธิ์ ติดอยู่ด้วยนั้น ให้มากขึ้นได้ แลบรรดากรรมสิทธิ์ทั้งนี้ ให้ถือว่า เปนทรัพย์ส่วนตัวบุคคล ซึ่งจะต้องวินิจฉัยในเรื่องจัดการทรัพย์มรฎกของผู้ตายเช่นอย่างสังหะริมะทรัพย์ฉนั้น
มาตรา ๗  ผู้แต่งหนังสือปาฐะกะถาใด ๆ เรื่องเดียวหรือหลายเรื่องก็ดี หรือบุคคลผู้ที่ได้รับซื้อหรือรับโอนฉบับหนังสือปาฐะกถานั้น ๆ มาจากผู้แต่งก็ดี มีอำนาจสิทธิ์ขาดแต่ผู้เีดยวที่จะพิมพ์แลโฆษนาหนังสือปาฐะกถานั้น ๆ ได้ ถ้าและผู้ใดบังอาจลอกคัดหนังสือเช่นนี้