หน้า:พรบ แก้ไข พรบ กรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ พศ ๒๔๕๗.pdf/5

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๔๕๗
เล่ม ๓๑ น่า ๔๖๖
ราชกิจจานุเบกษา

 (๑) เรื่องของหนังสือปาฐะกะถา
 (๒) ศุภมาศวันเดือนปีของหนังสือปาฐะกะถา หรือภาคต้นของหนังสือนั้น
 (๓) ชื่อแลที่สำนักอาศรัยของผู้แสดงปาฐะกะถา
 (๔) ชื่อแลที่สำนักอาศรัยของผู้เปนเจ้าของกรรมสิทธิ์
มาตรา ๑๐  การเก็บรวบรวมข้อความต่าง ๆ ก็อาจจะพึงเปนเหตุให้มีกรรมสิทธิ์ได้ เมื่อได้มีผู้เก็บรวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ ที่ใคร ๆ จะเก็บได้นั้นมารวมเข้าเปนเล่มแล้ว ผู้เก็บรวบรวมเรื่องทีหลังจะลอกคัดเรื่องราวจากหนังสือเล่มนั้นไม่ได้ จะทำได้ก็ต้องเปนการดำเนิรเค้าความในเรื่องที่ตนได้เก็บมาเอง
มาตรา ๑๑  หนังสือที่ออกเปนกำหนดเวลา ซึ่งรวมทั้งหนังสือพิมพ์ หนังสือวินิจฉัยข้อความของหนังสือต่าง ๆ หนังสืออ่านเล่นที่ออกเปนครั้งคราว หนังสืออธิบายข้อความในวิชาการต่าง ๆ หรือหนังสือที่ออกเปนลำดับกันไปนั้น เมื่อได้นำมาจดฐเบียรแล้ว ก็ให้มีกรรมสิทธิ์ได้
มาตรา ๑๒  การจดฐเบียรตามความในมาตรา ๑๐ แลมาตรา ๑๑ นั้น ให้จดข้อความโดยพิศดาร ดังต่อไปนี้