หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/50

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๔๗๘
เล่ม ๕๒ หน้า ๖๔๗
ราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๘๐ ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำหรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำผิดมาแล้วสด ๆ

อย่างไรก็ดี ความผิดอาญาดั่งระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ ให้ถือว่า ความผิดนั้นเป็นความผิดซึ่งหน้าในกรณีดั่งนี้

(๑) เมื่อบุคคลหนึ่งถูกไล่จับดั่งผู้กระทำโดยมีเสียงร้องเอะอะ

(๒) เมื่อพบบุคคลหนึ่งแทบจะทันทีทันใดหลังจากการกระทำผิดในถิ่นแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุนั้นและมีสิ่งของที่ได้มาจากการกระทำผิด หรือมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสันนิษฐานได้ว่าได้ใช้ในการกระทำผิด หรือมีร่องรอยพิรุธเห็นประจักษ์ที่เสื้อผ้าหรือเนื้อตัวของผู้นั้น

มาตรา ๘๑ จะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับ

(๑) ในที่ระโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่ระโหฐาน

(๒) ในพระราชวัง หรือในที่ซึ่งพระมหากษัตริย์ พระมเหษี หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประทับหรืออยู่ นอก