หน้า:พระราชดำรัสฯ แก้ไขการปกครองแผ่นดิน - ๒๔๗๐.pdf/27

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๖

ขุนไม่ทราบข้อบังคับเหล่านั้นบ้างก็มีโดยมาก ที่จะถึงลูกขุนชี้ขาดปฤกษาวางบทนั้นมีบ้างไม่สู้มากนัก มักจะเป็นความที่กราบทูลมากกว่า แต่เพราะสัศดีต้องหาผลประโยชน์ตามทางเก่าที่จะรับกับความเจริญของบ้านเมืองมีอาหารแพงเปนต้น กับท่านจะแข่งกรมอนๆ เช่นกรมเมืองการที่ยังทำอยู่นั้นก็ไม่เปนการเรียบร้อยพ้นจากการรุงรังได้ ทั้งเก็บเงินข้าราชการแลชำระหักโอนตัวเลข แลชำระคดีอันเกิดขึ้นด้วยความเรื่องตัวเลข แต่กรมสัศดีมีราชการมากกว่าแลสำคัญกว่ากรมนา คล้ายคลึงกันกับกรมเมือง แต่มีผลประโยชน์ชุ่มเย็นกว่า นับว่ากรมสัศดีนี้เปนกรมที่ควรจะเป็นเสนาบดีได้กรมหนึ่ง แต่ควรจะเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมราชการให้เต็มน่าที่ อันจะกล่าวต่อไปในภายน่า

กรมลูกขุนนั้นเปนกรมใหญ่ ได้บังคับความทั้งแผ่นดิน แต่จะค้นหาข้อความเบื้องต้นที่แรกตั้งขึ้นโดยประสงค์อย่างไรให้ชัดเจนก็ไม่ได้ความชัด คำซึ่งเรียกว่าลูกขุนณศาลหลวงซึ่งปรากฏใช้อยู่ในบัดนี้ก็ไม่ใคร่จะได้พบเห็นในกฎหมายเก่าๆ ซึ่งร้อยกรองเปนมาตราหมวดใหญ่ๆมาปรากฏชื่อนี้ต่อในกฎหมายชั้นกลางๆลงมา แต่เมื่อพิเคราะห์ดูในเหตุการทั้งปวง ตั้งต้นแต่กฎหมายมนูสารสาตรเปนต้นเค้าของกฎหมายที่ใช้อยู่ในกรุงสยามนี้ เปนกฎหมายมาแต่เมืองอินเดียเอามาใช้เป็นแม่ข้อที่พระเจ้าแผ่นดินจะได้ตั้งพระราชบัญญัตกฎหมายเปลี่ยนแปลงให้สมกับภูมิประเทศบ้านเมือง เมื่อได้ความชัดว่ามนูสารสาตรนี้มาแต่ประเทศอินเดีย กับทั้งประเพณีอื่นๆมีการบรมราชาภิเษกเป็นต้น ก็เป็นแบบอย่างข้างประเทศอินเดีย มีพระราชพิธีเนื่องด้วย