หน้า:พระราชดำรัสฯ แก้ไขการปกครองแผ่นดิน - ๒๔๗๐.pdf/30

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๙

อย่างไทยแล้ว ก็เปนน่าที่อันไม่ควรจะรวมกัน แต่การที่เจ้ากรมแพ่งกลางแพ่งเกษม๒คนนี้ ไม่มีน่าที่วางบทลงโทษขึ้นด้วยนั้น ควรจะเห็นได้ว่า แต่เดิมมาลูกขุนคงจะปฤกษาชี้ขาดแลวางบทลงโทษตลอดไปในชั้นเดียว แต่ล่วงมาจะเปนด้วยผู้ซึ่งเปนปุโรหิตใหญ่ ซึ่งมีความรู้แลสติปัญญาความจำทรงมากนั้นล้มตายไป ผู้ซึ่งรับแทนใหม่ ไม่แคล่วคล่องในกฎหมายซึ่งตั้งขึ้นไว้ ฤาไม่มีสติปัญญาความจำทรงมากนั้นล้มตายไป ผู้รับที่แทนใหม่ ไม่แคล่วคล่องในกฏหมายซึ่งตั้งขึ้นไว้ ฤาไม่มีสติปัญญาสามารถพอที่จะทำการให้ตลอดไปได้แต่ในชั้นเดียวนั้นอย่างหนึ่ง แลเพราะเหตุที่พระเจ้าแผ่นดินจึงได้โปรดให้เจ้ากรมแพ่งกลางแพ่งเกษม๒คนนี้ เปนพนักงานที่จะพลิกกฏหมาย เพราะฉนั้นลูกขุนจึงเปนแต่ผู้พิพากษาชี้ผิดชี้ชอบ แต่การที่จะตัดสินโทษอย่างไรนั้น ตกเปนพนักงานของเจ้ากรมศาลแพ่งทั้ง๒ จึงได้ปรากฏชื่อว่าเปนผู้ปรับ เพราะเปรผู้พลิกผู้เบ็ดสมุดกฏหมายดังนี้ ถ้าจะคิดเอาศาลแพ่งกลางแพ่งเกษมทั้ง๒ศาลนี้เปนตัวอย่างว่า ฤาแต่ในชั้นต้นแรกตั้งพระนครที่กล่าวมานั้นตระลาการซึ่งมีอยู่ในศาลอื่นๆทุกวันนี้ จะรวมอยู่ในลูกขุน กรมลูกขุนเปมกรมยุติธรรมสำหรับพระนคร ก็ดูเหมือนจะพอว่าได้ แต่ภายหลังมา อำนาจลูกขุนไม่พอที่จะบังคับรักษาให้ศาลทั้งปวงอันอยู่ในใต้บังคับ พิจารณาความให้ตลอดทั่วถึงไปได้ ด้วยเหตุขัดข้องต่างๆครั้นเมื่อจัดการในตำแหน่งขุนนาง เอาฝ่ายพลเรือนเปนสมุหนายกฝ่ายทหารเปนสมุหพระกระลาโหม แลตั้งตำแหน่งจคุสดมภ์ แก้ใข