หน้า:พระราชดำรัสฯ แก้ไขการปกครองแผ่นดิน - ๒๔๗๐.pdf/31

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๐

เพิ่มเติมใหม่ในแผ่นดินสมเดจพระบรมไตรโลกนารถ จึงได้แยกศาลจากกรมลูกขุนออกไปแจกให้กรมต่างๆ คงไว้แต่ศาลแพ่งกลางแพ่งเกษมให้อยู่ในกรมลูกขุน๒ศาล เพราะ๒ศาลนี้ เปนแต่ความแพ่งซึ่งเปนความอ่อนๆอันลูกขุนจะพอมีอำนาจบังคับบัญชาตลอดได้ ความอนๆที่เปนความสำคัญแขงแรง แลเปนความที่ประสงค์จะอุดหนุนราษฎรให้ความแล้วโดยเร็วขึ้นกว่าความสามัญ จึงได้ยกไปแจกไว้ในกรมต่างๆเพื่อจะให้เสนาบดีแลอธิบดีกระทรวงนั้นๆ ช่วยบังตับบัญชาว่ากล่าวเร่งรัดโดยอำนาจไม่ให้มีที่ติดขัดข้อง แลไม่ให้ขุนศาลตระลาการทอดทิ้งความไว้ให้เนิ่นช้า แต่ความทั้งปวงนั้น ตั้งต้นแต่ฟ้องไปก็ยังคงให้ลูกขุนเปน(ู้สั่งฟ้อง ถ้าขัดข้องด้วยคู่ความจะมีถ้อยมีคำประการใด ก็ยังต้องมาหาฤาลูกขุน ที่สุดขนถึงพิพากษาชี้ขาดก็ยังต้องให้ลูกขุนเปนผู้พิพากษาชี้ขาด ท่านเสนาบดีแลอธิบดีที่ได้เปนเจ้าของศาลนั้นๆ ไม่มีอำนาจที่จะตัดสินความในศาลใต้บังคับของตัวเด็ดขาดอันใดได้ เปนแต่ผู้ที่จะช่วยให้ความนั้นได้ว่ากล่าวแก่กัน อย่าให้มีที่ขัดข้องที่จะเกิดขึ้นด้วยคู่ความแลตระลาการ จะไม่ทำการให้เดินไปเสมอๆนั้นอย่างเดียว ก็ถ้าหากว่าความคิดที่คิดเห็นว่าศาลทั้งปวงแต่เดิมจะรวมอยู่ในกรมลูกขุนนั้นจะเปนการผิดไป ก็แต่เพียงได้แจกศาลต่างๆไว้ในกรมทั้งปวง เหมือนเช่นว่าในชั้นหลังนี้แต่เดิมมาเท่านั้น ตัวเสนาบดีแลอธิบดีกับลูกขุนก็คงมีอำนาจเปนคนละแผนกกันดังเช่นว่ามาแล้วนี้ ถ้าจะคิดเทียบดูกับอย่างเสนาบดีว่าการยุติธรรมในประเทศอื่น ก็เปนการกลับกันตรงมาแต่เดิมลูกขุนซึ่งดูเหมือนจะเปนเสนาบดีกรมยุติธรรมนั้น กลับเปนน่าที่ผู้พิพาก