หน้า:พระราชดำรัสฯ แก้ไขการปกครองแผ่นดิน - ๒๔๗๐.pdf/36

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๕

แต่ไม่มีผู้ใดจะคิดเปลี่ยนแปลงด้วยเปนสเบียงของกรมวัง ซึ่งมีผลประโยชน์น้อยกว่ากรมอื่นๆทั้งสิ้น

๖ ศาลแพ่ง ๗ ศาลแพ่งเกษม สองศาลนี้อยู่ในกรมลูกขุนดังเช่นว่ามาแล้ว แต่กรมลูกขุนก็ไม่มีอำนาจจะบังคับบัญชาอันใดในศาลสองศาลนี้ ภายหลังจึงต้องมีเจ้านายบ้างขุนนางบ้างไปเปนอธิบดีๆนั้นรับเรื่องราวอุทธรณ์ตระลาการได้ แต่ไม่เกี่ยวข้องอันใดกับน่าที่ของเจ้ากรมที่เปนผู้ปรับ เมื่อเจ้ากรมทั้งสองจะปรับผิดอย่างหนึ่งอย่างใดในความทั้งปวงกล่าวโทษที่อื่น

๘ กระทรวงมรฎก แบ่งไปไว้ในกรมล้อมพระราชวัง แต่ความมรฎกเปนความที่แล้วยาก แลเปนความเงินทองมากจึงได้ตั้งธรรมเนียมว่าฟ้องหาเปนความมรฎกกันในกรุง ให้พระยาประสิทธฺศุภการซึ่งอยู่ในตำแหน่งมหาดเล็ก แต่เปนผู้กำกับศาลมรฎกคัดห้องขึ้นถวายก่อน ถ้ามีทุนทรัพย์มากๆมักจะถอนมาให้ตำรวจบ้างกรมวังบ้างชำระเปนความรับสั่งไม่ได้เกี่ยวในศาลมรฎกเดิม ถ้าเปนหัวเมืองก็ต้องมีใบบอกเข้ามา ต่อมีตราออกไปให้ชำระจึ่งชำระได้ หาไม่ต้องส่งมาชำระที่กรุงเทพฯ

๙ กระทรวงกรมท่ากลางสำหรับชำระความต่างประเทศกับคนไทยศาลนี้เปลี่ยนแปลงไปมากเหมือนอย่างกับกรมว่าการต่างประเทศนั้นเองคือแต่เดิมมาก็คงจะว่าแต่กระทรวงการคลัง ครั้นเมื่อเจ้าพระยาพระคลังว่าการต่างประเทศ จึ่งได้ตั้งกระทรวงว่าความต่างประเทศอีกกระทรวง