หน้า:พระราชดำรัสฯ แก้ไขการปกครองแผ่นดิน - ๒๔๗๐.pdf/38

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๗

แยกออกไปต่างหาก เปนแต่ชาวคลังกำกับด้วย เพราะฉนั้นความศาลพระคลังสมบัตินี้ เปนความเรื่องราวโดยมากไม่ใคร่จะมีฟ้องประทับ

๑๒ ศาลกระทรวงธรรมการยังคงอยู่ตามเดิม แต่อธิบดีในศาลนั้นไม่ใคร่จะเปนคนมีอำนาจ จึ่งได้มีเจ้านายไปกำกับเสมอมามิได้ขาดถ้าเปนความสำคัญ เช่นความปาราชิกก็มักจะเปนความรับสั่ง แลเมื่อถึงตัดสินพระเจ้าแผ่นดินก็ทรงตัดสินเอง ไม่ได้ให้ลูกขุนปฤกษาวางบทโดยมาก

๑๓ กระทรวงสัศดีคงอยู่ตามตำแหน่งเดิม แต่ความเลขหัวเมืองไม่ใคร่จะได้ตัดสิน ดังเหตุที่ว่ามาแต่หลังนั้นแล้ว ศาลนี้เปนความเรื่องราวมากกว่าฟ้องประทับเหมือนกัน

๑๔ ศาลกระทรวงแพทยานี้เปนอันเลิกขาดไม่มี ด้วยข้อความที่จะหากันให้ถูกต้องในพระธรรมนูญนั้น ก็ไม่ใคร่จะมีใครฟ้องหา มีบ้างก็มักไปอยู่ในกรมเมืองแลกรมอื่นๆตามแต่ที่ข้อความจะดูดไป

ศาลซึ่งได้กำหนดมาในพระธรรมนูญมีอยู่ ๑๔ กระทรวงเท่านี้ แต่มีศาลเพิ่มเติมขึ้นอีกตามเวลาที่ต้องการ ไม่พอที่จะว่าความทั้งปวงทั่วไป

คือศาลในกรมท่านั้น แยกออกไปอีกสามกระทรวง คือความจีนต่อจีนเปนกระทรวงกรมท่าซ้าย ความแขกต่อแขกฤาเปนจำเลยเปนกระทรวงกรมท่าขวา ยกเสียแต่ความนครบาล ศาลกรมท่าซ้ายกรมท่าขวานี้ พระยาโชฎึกราชเสรฐี พระยาจุฬาราช