หน้า:พระราชดำรัสฯ แก้ไขการปกครองแผ่นดิน - ๒๔๗๐.pdf/39

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๘

มนตรี เคยรับเรื่องราวอุทธรณ์ในศาลอยู่บ้าง แต่เมื่อไม่ว่ากล่าวให้ตลอดได้ ก็ไปร้องต่อเสนาบดีกรมท่ากลาง ว่ากล่าวบังคับบัญชาได้อีกชั้นหนึ่ง ถ้าเปนฟ้องประทับแล้ว ก็หาฤาลูกขุนได้ตรงทีเดียวเหมือนกระทรวงเดิม ไม่เกี่ยวข้องอันใดกับเสนาบดีกรมท่า แต่ศาลต่างประเทศซึ่งเปนศาลอยู่ในกรมท่าอีกศาลหนึ่งนั้นเปนศาลตั้งขึ้นใหม่ เมื่อทำสัญญาด้วยนานาประเทศ ยกเปนศาลรับสั่ง มีอำนาจที่จะพิจารณาความที่โจทเปนคนต่างประเทศ ไม่ว่าความแพ่งอาญานครบาลอย่างใด ลูกขุนไม่ได้สั่งฟ้อง ไม่ได้ปฤกษาชี้ขาด เหมือนศาลอื่นๆกงซุลส่งฟ้องขึ้นมาแล้วก็รับพิจารณา การที่จะปฤกษาตัดสินลงโทษเปนสิทธิ์ขาดอยู่ในลูกขุนผู้เดียว ซึ่งยกตำแหน่งขึ้นใหม่ เปนพระพิพากษานานาประเทศกิจ เมื่อความนั้นจะต้องอุทธรณ์ๆมาที่เสนาบดีว่าการต่างประเทศๆมีอำนาจที่จะตัดสินยกถอนคำตัดสินเดิมนั้นได้ เปนศาลเดียวซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับลูกขุนณศาลหลวงเลย

ศาลรับสั่งชำระความลักช้างม้าโคกระบือ เปนศาลแยกมาแต่กรมพระนครบาล ให้กรมพระตำรวจช่วยชำระแต่ไม่ได้ขึ้นกรมพระนครบาลเหมือนอย่างแยกศาลในกรมท่า เพื่อจะปราบปรามผู้ร้ายลักช้างม้าโคกระบือซึ่งมีชุกชุมขึ้นคราวหนึ่ง แต่เลยตั้งติดต่อมา ศาลนี้มักจะเปนการแก่งแย่งกันอยู่กับกรมนาบ้าง ด้วยกรมนาเข้าใจว่าความโคกระบืออยู่ในศาลนี้ทั้งสิ้น แต่ที่จริงนั้น แยกจากนครบาลเท่านั้นศาลนี้มีอำนาจเปนศาลรับสั่ง ขัดข้องอันใดกราบทูลได้ แต่ลูกขุนก็ยังเกี่ยวข้องอยู่ด้วย ไม่ขาดไปทีเดียว เหมือนศาลต่างประเทศ