หน้า:พระราชดำรัสฯ แก้ไขการปกครองแผ่นดิน - ๒๔๗๐.pdf/41

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๐

เปนเรื่องราวร้องต่อเจ้ากระทรวงทั้งสิ้น ต่อเจ้ากระทรวงไม่รับเรื่องราวนั้นจึ่งได้มาฟ้องต่อศาลหลวงๆก็ต้องประทับกลังลงไปกระทรวงนั้นเองไม่ได้ประทับไปศาลอุทธรณ์ดังเช่นแต่ก่อน แลวิธีที่อุทธรณ์ด้วยเรื่องราวนั้น จะเปนอุทธรณ์มิเปนอุทธรณ์ก็แล้วแต่ท่านอธิบดีในกรมนั้นตัวท่านอธิบดีบ้างข้างเคียงบ้าง เพราะเรื่องราวกล่าวหาเกินความจริงให้เข้าลักษณอุทธรณ์ ฤาเพราะความเผลอๆไปบ้าาง ก็มีตราไปให้ส่งจำเลยผู้ต้องอุทธรณ์แลความเดิมลงมาพิจารณาณกรุงเทพฯได้พิจารณาตามชั้นอุทธรณ์บ้าง ฝ่ายจำเลยขี้คร้านแก้ความอุทธรณ์ยอมกันแก่โจทเสียบ้าง ความเดิมนั้นก็ตกอยู่ในศาลกระทรวงนั้นที่กรุงเทพฯเมื่อเปนช่องดังนี้ความหัวเมืองชำระไปได้เพียงเล็กน้อยเท่าใด ถ้าคู่ความเห็นจะเสียท่วงทีก็ลงมาอุทธรณ์เสียที่กรุงเทพฯได้เบิกคู่ความเดิมเข้ามา ถ้าความอุทธรณ์รายใดที่ได้สู่กัน ความรายนั้นก็ไม่มีเวลาที่จะพิจารณาแล้ว ด้วยความบิดพลิ้วแลเฉื่อยแฉะของตระลาการบ้างด้วยอำนาจของคู่ความตามกฎหมายมีทางที่จะชักเชือนแชให้ช้าไปบ้างความนั้นก็ไม่แล้วลงได้ เปนช่องที่คู่ความผู้ทำความทุจริตจะถือเสียว่าอย่างไรๆก็ลงมาอุทธรณ์เสียให้ความเนิ่นช้าไป ข้องฝ่ายเจ้าเมืองกรมการที่เปนผู้ทุจริตก็ถือเสียว่าถึงว่าถึงอย่างไรๆความก็คงชำระไม่แล้วไม่มีเวลาแพ้อุทธรณ์ ต่างคนก็ต่างประพฤติความทุจริตคงอยู่ตามเดิมฤายิ่งขึ้นไปกว่า ฝ่ายแม่กองที่ตั้งขึ้นไว้สำหรับกันลูกขุนผิดนั้นเล่าเมื่อได้รับเรื่องราวกล่าวโทษคำปฤกษาแล้วเรียกสำนวนแลคำลูกขุนปฤกษามาตรวจ กว่าจะได้มาตรวจและตรวจแล้วแต่ละเรื่องก็ช้านาน