หน้า:พระราชดำรัสฯ แก้ไขการปกครองแผ่นดิน - ๒๔๗๐.pdf/45

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๔

สู้ผิดกันกับแต่ก่อนมากนัก เปนแต่ไม่มีอำนาจที่จะตั้งธรรมการ หัวเมืองขาดไปพร้อมกับกรมอื่นๆ แต่ธรรมการหัวเมืองก็ยังมีหนังสือบอกข่าวคราวเหตุการซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างพระสงฆ์หัวเมืองบ้างน้อยๆรายแต่กรมธรรมการมักจะได้พูดจากับพระสงฆ์เจ้าคณะตามหัวเมืองนั้นเองเสียโดยมาก ถ้าเจ้าเมืองกรมการเมืองใดจะขอตั้งเจ้าคณะหัวเมือง ก็ยังมีใบบอกมาที่กรมธรรมการนั้นด้วย คงอยู่อย่างแต่ก่อน แต่ตำแหน่งใหญ่คือที่พระยาพระเสด็จนั้นไม่ได้ตั้งมาเสียช้านาน ด้วยผู้ซึ่งจะเปนขุนนางในตำแหน่งธรรมการนี้ ดูเหมือนจะต้องใช้คนที่เปนคนบวชอยู่นานเร่อร่างุ่มง่ามไปไม่สมควรเปนขุนนางผู้ใหญ่ จึ่งได้ลดตำแหน่งมีศักดินาน้อยลง คงใช้เจ้านายไปกำกับอยู่เสมอมา

ส่วนกรมราชบัณฑิตยซึ่งดูเหมือนน่าที่จะรวมอยู่ในกรมธรรมการก็แยกไปเปนกรมหนึ่งต่างหากไม่เกี่ยวข้องกัน กรมธรรมการมีแต่ที่จะความพระสงฆ์อย่างเดียว กรมราชบัณฑิตยเปนน่าที่ที่จะบอกหนังสือพระสงฆ์แยกไปส่วนหนึ่ง มีน่าที่รวมกันแต่ในเวลาพระสงฆมาแปลพระปริยัติธรรม ต้องเปนผู้มากำกับตรวจตราด้วยกันทั้งสองกรม ถ้าจะว่าตามความคิดที่แบ่งตำแหน่งอย่างต่างประเทศ กรมสังฆการีเปนกรมธรรมการฤากรทสาศนน กรมราชบัณฑิตยเปนกรมศึกษาธิการควรที่จะรวมอยู่ด้วยกันแผนกหนึ่งได้ แลการสั่งสอนวิชาหนังสือไทยนั้นธรรมเนียมในเมืองไทยนี้ก็อาไศรยเรียนในวัดเปนที่ตั้ง แต่โบราณมาแต่ผู้ปกครองแผ่นดินหาได้จัดการอุดหนุนอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ จนตกมา