หน้า:พระราชดำรัสฯ แก้ไขการปกครองแผ่นดิน - ๒๔๗๐.pdf/47

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๖

นอกสำหรับจ่ายรกษาพระบรมวงษานุวงษข้าราชการตามที่เข้าใจกันอยู่โดยมากก็ไม่ได้ความแน่ แต่หมอโรงในคือโรงพระโอสถนั้นคงเปนหมอสำหรับเจ้าแผ่นดินแ แต่ถึงจะอย่างไรๆในการที่ใช้อยู่ประจุบันนี้ ไม่ได้เลือกว่าหมอศาลาแลโรงพระโอสถใช้ปนกันไปหมดตามแต่ที่ต้องการ ถ้าจะคิดอีกอย่างหนึ่งว่า จะมีโรงหมอสำหรับรักษาราษฎรทั้งปวง จะใช้หมอศาลา ก็ไม่ปรากฎว่ามีโรงหมอเช่นนั้นแต่ก่อนมาเลย พึ่งมามีขึ้นแต่โรงหมอที่ท่าพระ สำหรับรับคนในพระบรมมหาราชวังป่วยเจ็บ แต่ภายหลังก็กลายเปนเรือนหมออยู่ไม่ได้คงตามที่ตั้งเดิม แลมีโรงรักษาคนเจ็บขึ้นที่โรงธรรมวัดสุทัศน์ก็เปนการย่อๆเล็กน้อยแล้วเลิกไป พึ่งจะเกิดโรงพยาบาลซึ่งตั้งขึ้นใหม่ในเร็วๆนี้ การโรงพยาบาลนี้คิดจะให้แพร่หลายไปทั่วพระราชอาณาเขตร์ ก็คงจะเปนการใหญ่ จะต้องใช้หมอประจำโรงพยาบาลนั้นมาก กรมหมอคงจะต้องแยกเปนสองส่วนอย่างเดิม แต่จะต้องมีจำนวนมากขึ้น

กรมพระอาลักษณ์นี้ ในตำแหน่งศักดินาก็นับเปนกรมใหญ่ มีปลัดทูลฉลองปลัดนั่งศาล แต่ในพระธรรมนูญหาได้แบ่งกระทรวงไว้ว่าเปนพนักงานว่าความอย่างใดไม่ เหมือนกันกับกรมสรรพากร ยังมีที่อาลักษณได้เกี่ยวข้องในความก็แต่เพียงชัณสูตรหนังสือสำคัญซึ่งหมายเรียกไปเปนฉเพาะตัวต้องสาบาลเหมือนกับเปนพยานผู้หนึ่งเท่านั้น แต่ตำแหน่งราชการอื่นๆนอกจากเรื่องความดูก็อยู่ข้างจะหลวมมากไม่สมกับที่เปนตำแหน่งใหญ่ ในตำแหน่งดวงตราซึ่งมีในพระธรรมนูญ ว่าพระราชทานให้ไว้ตำราข้าพระโยมสงฆ์ไร่นาอากรแก่ผู้ใดๆไซร์ ให้