หน้า:พระราชดำรัสฯ แก้ไขการปกครองแผ่นดิน - ๒๔๗๐.pdf/71

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๖๐

จะกล่าวในที่นี้ก็ป่วยการ เมื่อปฤกษากันจัดการรายละเอียดซึ่งจะได้ใช้แบบอย่างใหม่ต่อไปนั้นจึงควรพิจารณาให้ตลอด

อนึ่งการประชุมข้าราชการปฤกษาตั้งพระราชกําหนดกฎหมายเปนต้น ซึ่งมีเปนแบบอย่างมาแต่เดิมนั้น มีอยู่สองพวก คือลูกขุนณศาลาพวกหนึ่ง ลูกขุนณศาลหลวงพวกหนึ่ง ลูกขุนณศาลานั้นคือข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งต่าง ๆ มีเสนาบดีเปนต้น ลูกขุนณศาลหลวงนั้นคือลูกขุนที่เปนผู้สําหรับพิพากษาคดีของราษฎร ทั้งสองพวกประชุมกันปฤกษาเรียบเรียงพระราชกำหนดกฎหมาย เมือพระเจ้าแผ่นดินทรงเห็นชอบอนุญาตแล้ว กฎหมายนั้นก็เปนอันใช้ได้ เว้นไว้แต่บางครั้งโปรดให้มีพระบรมวงษานุวงษ์ ซึ่งได้บังคับบัญชาราชการไปเปนประธานในการปฤกษานั้นบ้าง พระบรมวงษานุวงษนั้นก็ลงพระนามอยู่ในบาญแพนกหน้าลูกขุนทั้งสองพวก ถ้าจะนับเปนสามพวกก็เพียงพระบรมวงษานุวงษอีกพวกหนึ่ง แต่ไม่เปนการลงแบบแผนเสมอไป

ภายหลังมาได้ตั้งที่ปฤกษาราชการแผ่นดินขึ้นอีกพวกหนึ่ง ที่ปฤกษาราชการในพระองค์พวกหนึ่ง น่าที่แลอำนาจของที่ปฤกษาราชการทั้งสองนั้นแจ้งอยู่ในพระราชบัญญัติซึ่งได้ออกแต่ณวัน ค่ำ ปีจอ ฉศก จุลศักราช ๑๒๓๖ ที่ปรึกษาราชการนั้นก็ได้ทําการให้เปนประโยชน์ดีขึ้นได้หลายอย่าง ตามเวลาซึ่งต้องการนั้น แต่ในเวลานี้ราชการทั้งปวงเปลี่ยนแปลงไปกว่าแต่ก่อน ทั้งการที่จะจัดตําแหน่งเสนายบดีเปนอย่างใหม่นี้ด้วย จึงควรที่จะแก้ไขพระราชบัญญัติที่ปฤกษาราชการเหล่านี้ให้ลงแบบอย่างสมควรกันกับการที่ได้เปลี่ยนแปลงไปใหม่นั้นบ้าง