หน้า:พระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. ๒๔๙๕ และอื่น ๆ.pdf/172

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
– 163 –

และมีส่วนก่อให้เกิดเงื่อนไขสงคราม นอกจากนี้ ยังปรากฏว่า กลุ่มผูกขาดทางเศรษฐกิจบางกลุ่มสามารถสร้างพลังต่อรองทางการเมืองได้สูง จนเป็นเหตุให้เป็นอุปสรรคและขัดขวางการพัฒนาประชาธิปไตยได้

 อย่างไรก็ดี การดำเนินการต่อกลุ่มเศรษฐกิจดังกล่าวก็ควรทำในลักษณะอันเป็นขั้นตอนและถูกต้องตามกฎหมาย โดยเน้นการประสานประโยชน์ตามลักษณะของสังคมไทยเป็นสำคัญ เนื่องจากการกระทำที่รุนแรงน่าจะก่อผลเสียมากกว่าผลดีทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา จึงให้มีแนวทางดำเนินการเพื่อลดการผูกขาดกลุ่มทางเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้ คือ

 7.2.4.1.1 เร่งรัดกวดขันกิจการธุรกิจที่ละเมิดกฎหมายอย่างจริงจัง ตลอดจนพิจารณาเพิ่มบทลงโทษความผิดที่สำคัญ ๆ ให้สูงขึ้น

 7.2.4.1.2 ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันและทำลายการผูกขาดตัดตอนทางเศรษฐกิจ

 7.2.4.1.3 ส่งเสริมและปลูกฝังจิตสำนึกให้พ่อค้านายทุนมีความรับผิดชอบต่อสังคม รู้จักเสียสละ คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและส่วนรวม และเห็นความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎหมาย โดยวิธีให้การยอมรับความสำคัญ ยกย่องนายทุนที่มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม การใช้การเรียนรู้ต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของพวกตน

 7.2.4.1.4 ดำเนินการตามความเหมาะสมต่อธุรกิจอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม โดยใช้มาตรการทางการเงิน การคลัง กฎหมาย และการบริหาร เพื่อให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกระจายสู่ประชาชน

 7.2.4.2 มวลชนพื้นฐาน เนื่องจากผู้ใช้แรงงานและชาวนาชาวไร่มีความสำคัญในฐานะที่เป็นมวลชนพื้นฐานที่จะชี้ขาดการปฏิวัติประเทศไทย และเป็นเป้าหมายในการแย่งชิงมวลชนของกลุ่มการเมืองทุกกลุ่ม รวมทั้งกลุ่มคอมมิวนิสต์ ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้มวลชนพื้นฐานถูกฝ่ายตรงกันข้ามช่วงชิง และเพื่อดึงมวลชนพื้นฐานให้สนับสนุนการพัฒนาประชาธิปไตย และมิให้ตกเป็นเหยื่อการโฆษณาชวนเชื่อของกลุ่มคอมมิวนิสต์ จึง