หน้า:พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมลักษณกู้หนี้ยืมสิน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๐ (พ.ศ. ๒๔๓๔).pdf/3

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เล่ม ๘
๔๔๗
ราชกิจจานุเบกษา


ผู้ที่ขอล้มนั้น ก็เรียกได้ แต่อย่าให้กักขังจำจองไว้ในระหว่างชำระโดยไม่มีเหตุ เว้นเสียแต่มีผู้ร้องต่อศาล ฤๅศาลมีเหตุสมควรที่จะสงไสยว่า ลูกหนี้นั้นจะคิดหลบหนีไปก็ดี ฤๅจะคิดยักยอกทรัพย์สมบัติอย่างไรก็ดี จึ่งให้กักขังไว้ได้

มาตรา  เมื่อพนักงานผู้จัดการล้มละลายที่ศาลตั้งไปนั้นได้นำความเสนอต่อศาลเปนประการใดแล้ว ให้ผู้พิพากษาตระลาการตัดสินแบ่งส่วนหนี้สินที่ชำระได้นั้นใช้ให้แก่เจ้าหนี้ผู้ที่ฟ้องร้องแลมีบาญชีถูกต้องกันนั้นตามส่วนจำนวนเงินหนี้ที่มีมากแลน้อย

มาตรา  เมื่อศาลได้พิจารณาความแล้วแลเห็นว่า เปนการสุจริตของลูกหนี้ ไม่มีเหตุที่จะเห็นว่า เปนการฉ้อโกงแลยักยอกปิดบังทรัพย์ไว้ แลได้ทรัพย์มาใช้หนี้สิ้นเชิงแล้ว ก็ให้ทำคำตัดสินว่า บริษัทฤๅบุทคลผู้เปนลูกหนี้นั้นได้ล้มละลายใช้หนี้สินเปนเสร็จชั้นหนึ่ง แล้วให้คดีอันนั้นเปนอันเลิกแล้วแก่กันไป คำตัดสินนี้ให้ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาให้ปรากฎชื่อผู้ล้มไว้ด้วย

มาตรา  แม้ว่าลูกหนี้จะได้รับคำตัดสินดังกล่าวมาแล้วนี้ก็ดี ถ้าการต่อไปภายน่าเจ้าหนี้สืบทราบว่า ลูกหนี้ทำการทุจริตปิดบังทรัพย์สินไว้ฤๅคิดฉ้อโกงอย่างหนึ่งอย่างใดที่เจ้าหนี้ยังไม่ทราบในเวลาชำระแลยังไม่ได้มีผู้ร้องให้ศาลได้พิจารณามาแต่ก่อนแล้ว ฤๅลูกหนี้มีทรัพย์ขึ้นอีกภายหลัง เจ้าหนี้นั้นจะฟ้องร้องให้เรียกลูกหนี้นั้นมาพิจารณาอีกต่อไปก็ได้ ไม่เปนคดีที่ขัดขวางต่อลักษณรับฟ้องซึ่งว่า คดีเดียวกันก็ดี ฤๅคะดีที่มีคำตัดสินแล้วก็ดิ ไม่ให้พิจารณานั้นแล้ว ให้ศาลพิจารณาความเช่นนี้ได้อีกต่อไป

ประกาศมาณวันที่ ๖ มีนาคม รัตนโกสินทร์ ๑๑๐ เปนวันที่ ๘๕๑๗ ในรัชกาลปัตยุบันนี้