เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก
๘ กันยายน ๒๕๕๘
ราชกิจจานุเบกษา
(๑)จัดทําแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและแผนเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข
(๒)ประสาน สนับสนุน และติดตามประเมินผลการดําเนินงานตามแผนใน (๑)
(๓)จัดทําแผนการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
(๔)ดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อตามที่คณะกรรมการ หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมอบหมาย
มาตรา๒๕ให้นําความในมาตรา ๑๕ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกโดยอนุโลม
คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร
มาตรา๒๖ให้มีคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
(๑)ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ
(๒)ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้แทนสํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกรมควบคุมโรค ผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์ ผู้แทนกรมปศุสัตว์ ผู้แทนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผู้อํานวยการ สํานักการแพทย์กรุงเทพมหานคร ผู้อํานวยการสํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร และผู้อํานวยการโรงพยาบาลสังกัดสภากาชาดไทยในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการ
(๓)ผู้อํานวยการโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร จํานวนหนึ่งคน ผู้อํานวยการโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จํานวนหนึ่งคน และผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้น ที่การศึกษาในกรุงเทพมหานคร จํานวนหนึ่งคน ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง เป็นกรรมการ
(๔)ผู้อํานวยการโรงพยาบาลในสังกัดหน่วยงานของรัฐนอกจาก (๓) ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง จํานวนไม่เกินห้าคน เป็นกรรมการ
(๕)ผู้ดําเนินการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง จํานวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ
(๖)เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อซึ่งประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศในเขตกรุงเทพมหานคร จํานวนแห่งละหนึ่งคน และแต่งตั้งผู้รับผิดชอบช่องทางเข้าออกประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศนั้น ๆ จํานวนแห่งละหนึ่งคน เป็นกรรมการ
ให้ผู้อํานวยการสํานักอนามัยกรุงเทพมหานครเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสังกัดสํานักอนามัยกรุงเทพมหานครที่ดํารงตําแหน่งในระดับไม่ตํ่ากว่าผู้อํานวยการกอง จํานวนไม่เกินสองคน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ