หน้า:พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘.pdf/11

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก

๘ กันยายน ๒๕๕๘
หน้า ๓๖
ราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๒๗  การแต่งตั้ง วาระการดํารงตําแหน่ง และการพ้นจากตําแหน่งของกรรมการตามมาตรา ๒๖ (๓) (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกําหนด

มาตรา ๒๘  ให้คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑)  ดําเนินการตามนโยบาย ระบบ และแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ที่คณะกรรมการกําหนด

(๒)  จัดทําแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

(๓)  รายงานสถานการณ์โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่อาจเป็นโรคระบาดซึ่งเกิดขึ้นในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครต่ออธิบดี

(๔)  สนับสนุน ส่งเสริม ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใน กรุงเทพมหานคร แล้วรายงานต่อคณะกรรมการ

(๕)  แต่งตั้งคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกตามมาตรา ๒๓

(๖)  เรียกให้บุคคลใด ๆ มาให้ข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น หรือให้จัดส่งข้อมูลหรือเอกสารใด ๆ ที่จําเป็นหรือข้อคิดเห็นมาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา

(๗)  ดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการควบคุมโรคติดต่อตามที่คณะกรรมการหรือผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครมอบหมาย หรือตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๒๙  ให้นําความในมาตรา ๑๕ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการโรคติดต่อ กรุงเทพมหานครและคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกโดยอนุโลม

มาตรา ๓๐  ให้นำความในมาตรา ๒๓ และมาตรา ๒๔ มาใช้บังคับแก่องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะทำงานประจำช่องทางเข้าออกที่คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครแต่งตั้งโดยอนุโลม

หมวด ๕
การเฝ้าระวังโรคติดต่อ

มาตรา ๓๑  ในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดเกิดขึ้น ให้บุคคลดังต่อไปนี้แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ

เจ้าบ้านหรือผู้ควบคุมดูแลบ้าน หรือแพทย์ผู้ทําการรักษาพยาบาลในกรณีที่พบผู้ที่เป็น

หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในบ้าน

ผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาล ในกรณีที่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในสถานพยาบาล