หน้า:พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘.pdf/3

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก

๘ กันยายน ๒๕๕๘
หน้า ๒๘
ราชกิจจานุเบกษา

"ผู้ควบคุมพาหนะ" หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการควบคุมพาหนะ

"ผู้เดินทาง" หมายความว่า คนซึ่งเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และให้หมายความรวมถึง ผู้ควบคุมพาหนะ และคนประจําพาหนะ

"การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค" หมายความว่า การกระทําทางการแพทย์ต่อคนหรือสัตว์โดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้คนหรือสัตว์เกิดความต้านทานโรค

"ที่เอกเทศ" หมายความว่า ที่ใด ๆ ซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อกําหนดให้เป็นที่สําหรับแยกกักหรือกักกันคนหรือสัตว์ที่เป็นหรือมีเหตุสงสัยว่า เป็นโรคติดต่อใด ๆ เพื่อป้องกันมิให้โรคนั้นแพร่โดยทางตรงหรือทางอ้อมไปยังผู้ซึ่งอาจได้รับเชื้อโรคนั้น ๆ ได้

"สุขาภิบาล" หมายความว่า การควบคุม ป้องกัน หรือรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหรือการแพร่ของโรคติดต่อ

"ช่องทางเข้าออก" หมายความว่า ช่องทางหรือสถานที่ใด ๆ ที่ใช้สําหรับผ่านเข้าออกระหว่างประเทศของผู้เดินทาง พาหนะ และสิ่งของต่าง ๆ ทั้งนี้ ให้ หมายความรวมถึง พื้นที่หรือบริเวณที่จัดไว้เพื่อให้บริการดังกล่าว

"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ

"คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด" หมายความว่า คณะกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อประจําจังหวัด

"คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร" หมายความว่า คณะกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อประจํากรุงเทพมหานคร

"หน่วยงานของรัฐ" หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ

"เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

"อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมควบคุมโรค

"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ออกกฎกระทรวงกําหนดกิจการอื่น ตลอดจนออกระเบียบหรือประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

หมวด ๑
บททั่วไป

มาตรา  เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ให้รัฐมนตรี โดยคําแนะนําของคณะกรรมการ มีอํานาจประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้