หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/15

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

ลงไว้ในฉบับหลวงประเสริฐเพียงในแผ่นดินพระเจ้าอู่ทอง ต่อนั้นมาผิดศักราชกันตั้งแต่ ๔ ปีถึง ๒๐ ปีก็มี.

(๕) หนังสือพระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัดถเลขา ที่พิมพ์นี้ฉบับ ๑ ฉบับกรมหลวงมหิศวรินทร์ฉบับ ๑ ๒ ฉบับนี้ความต้องกัน ไม่มีพระราชพงษาวดารสังเขปเรื่องนายแสนปมแลพระราชพงษาวดารย่อข้างต้นอย่างฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม แต่เนื้อเรื่องได้สอบกับฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม (ตามเวลาเท่าที่มีพอทำได้ ไม่สู้เลอียดนัก) ความตอนต้นตรงกัน ความมามีผิดกันตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกษ ความในฉบับพระราชหัดถเลขาเพิ่มเติมบริบูรณ์ขึ้นหลายแห่ง ที่เปลี่ยนความฉบับพิมพ์ ๒ เล่มเสียทีเดียว (เช่น เรื่องสมิงทอเมืองหงษาวดี เปนตัวอย่าง) ก็มี ตัดความออกเสียจากฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม (เช่น ความที่กล่าวสรรเสริญเยินยอสมเด็จพระเจ้าบรมโกษแลพระเจ้ากรุงธนบุรี เปนต้น) ก็มี ที่แก้ไขถ้อยคำของฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม (เช่น ความในตอนจวนจะเสียกรุงเก่า แลตอนก่อนจะตั้งกรุงธนบุรี เปนต้น) ก็มี ความฉบับพระราชหัดถเลขาบริบูรณ์ดีกว่าฉบับพิมพ์ ๒ เล่มมาก เข้าใจว่า พระราชพงษาวดารฉบับนี้จะได้โปรดให้ชำระใหม่ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อชำระแล้วนำต้นฉบับขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายฉบับ ๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตรวจ เห็นว่า ยังไม่เรียบร้อยดี ทรงแก้ไข จึงปรากฎพระราชหัดถเลขาอยู่ในต้นฉบับ หนังสือพระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัดถเลขา นี้ หอพระสมุดได้มาแต่ ๒๒ เล่ม แต่เคราะห์ดีที่ได้ฉบับกรมหลวงมหิศวรินทร์มาประกอบกัน ได้เนื้อความบริบูรณ์เปนหนังสือ ๔๒ เล่มสมุดไทย