หน้า:พระราชลัญจกร - เสฐียรโกเกศศ - ๒๔๙๓.pdf/29

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๐

ราชโองการของเก่านั้น เพราะความสำคัญเลื่อนไปอยู่ที่ทรงเซ็นพระปรมาภิไธยเสียแล้ว แม้ใครจะเขียนอะไรลงไปในกระดาษอันมีพระราชลัญจกรพระบรมราชโองการ แต่ไม่มีลายเซ็นพระปรมาภิไธย ก็ไม่เป็นหลักฐานที่จะพึงฟังได้ว่าเป็นพระบรมราชโองการ"

ตัวอักษร |20 ที่มีอยู่ในตราพระบรมราชโองการตอนบน สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงสันนิษฐานว่า "จะเป็น อ-อุ-ม ตามคาถา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ที่เขาว่าหนังสือพราหมณ์นั้นน่ากลัวจะไม่ถูก เห็นจะทรงพระราชดำริผูกขึ้น ตัวหน้าซึ่งคะเนว่าเป็นตัว อ นั้น เป็นขีดเดียว ต้องกันกับหนังสืออริยกะซึ่งทรงพระราชดำริผูกขึ้นเหมือนกัน ตัวกลางน่าจะทรงพระราชดำริผูกขึ้นเทียบด้วยตัว อุ ตามหนังสือขอมในตราเดิม (คือ ตามตรามหาโองการ) ตัวหลังเป็น ม คือ นิคหิต ไม่มีข้อสงสัย ตรงกับอักษรเดิมที่ใช้ พาลจันทร์หมายเป็นตัว อ นั้นเอาอะไรมา น่าจะฟังเป็นยุติได้ว่า เดิมทีเดียวเขียนดั่งนี้ โองการ (ทีจะหมายเป็น ม-อ-อุ อย่างเก่า) ดูแต่นิคหิตหนังสือสันสกฤตเถิด เขียนจุดเดียว และหนังสือขอมชะนิดเขียนด้วยปากกากว้าง ซึ่งเรียกกันว่า ขอมย่อ นั้น ก็เขียนจุดเดียว เห็นจะมาแก้เป็นกลางกลวงกันเมื่อเขียนด้วยเหล็กจาร เพราะจะเอาเหล็กแหลมจิ้มลงไปทีเดียวกลัวจะแลไม่เห็น จึงเขียนให้ใหญ่กลายเป็นพินทุ เมื่อนิคคหิตเป็นจุดกลวงไปแล้ว วงเล็บใต้นั้นก็พลอยกลวงเป็นพาลจันทร์