หน้า:พระราชลัญจกร - เสฐียรโกเกศศ - ๒๔๙๓.pdf/38

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๙

เมืองยังไม่กว้างใหญ่ มีแต่ความฎีกา พระเจ้าแผ่นดินทรงพระราชวินิจฉัยด้วยพระองค์เองในท้องพระโรง ภายหลัง บ้านเมืองใหญ่ออกไป ก็ตั้งขุนศาลตุลาการรายไปทำการ แต่คงต้องนำความกราบบังคมทูล เสนาบดีวังเป็นผู้รับสั่ง จึงได้เป็นใหญ่ในการพิพากษาคดี ชื่อยังปรากฏอยู่ว่า เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี เสนาบดีคลังมีหน้าที่สำหรับเก็บส่วย จ่ายของ เสนาบดีนามีหน้าที่สำหรับปกครองให้ราษฎรทำกิน คลังและนาทั้งสองตำแหน่งนี้รวมกันได้แก่เสนาบดีมหาดไทย ตราของท่านทั้งสองนี้อยู่ข้างจะยุ่ง คิดแปลไม่ใคร่ออก ตราเสนาบดีวังเป็นเทพยดาทรงพระนนทิการ (ดู รูปที่ ๒๒) นี่เห็นจะพอแปลได้ ในหนังสือนารายณ์สิบปางข้างไทยว่า พระนารายณ์จะฆ่ากรุงพาน พระอิศวรขอไว้เอาไปเป็นนนทรีเฝ้าประตูไกรลาส ในดิกชันนารีเทวดาฮินดูที่ฝรั่งตีพิมพ์ว่า นนทรีนั้นคือโคที่พระอิศวรทรง อีกนัยหนึ่งว่า เป็นอธิบดีกรมวังของพระอิศวร ก็เห็นจะยุติได้ว่า ตั้งใจจะใช้ตัวอธิบดีกรมวังของพระเจ้าเป็นเครื่องหมาย ตราพระยมของเสนาบดีเมือง (ดู รูปที่ ๒๓) นั้นกระไรอยู่ ที่ควรแล้ว ตราพระยมน่าจะเป็นของเสนาบดีเมือง ก็เพราะชื่อว่า เจ้าพระยายมราช แต่ที่จริงก็ซ้ำกับเสนาบดีวัง ธรรมะก็เป็นชื่อพระยมนั่นเอง เวลาที่ตั้งชื่อเสนาบดีเมืองเป็นเจ้าพระยายมราชนั้น คงเป็นเวลาที่เสนาบดีคนนั้นได้ดูแลในการถ้อยความทั้งสิ้น เจ้าพระยาธรรมาเวลานั้นคงจะเหลวไหลไปอย่างไรอย่างหนึ่ง ตราพระยมคงเกิดทีหลังพระนนทิการ ตราบัวแก้วเสนาบดีคลังนี้เหลือแปล จะเป็น