หน้า:พระราชลัญจกร - เสฐียรโกเกศศ - ๒๔๙๓.pdf/39

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๐

ตราดอกบัวทำตามบุญตามกรรมอย่างนั้นหรือประการใด หรือจะหมายเป็นกมลาสน์ ถ้ากระนั้นทำไมไม่ทำพรหมนั่งบนดอกบัว นี่เอาเทวดาหน้าเดียวบรรจุลงในเกสรบัว (ดู รูปที่ ๓๒) จะเป็นกมลาสน์ไม่ได้ และถ้าเป็นดอกบัวเปล่าก็ดี หรือเป็นกมลาสน์ก็ดี ควรจะเป็นเครื่องหมายพนักงานคลังได้อย่างไร ตกลงยังแลไม่เห็นในดวงตรานี้ ส่วนตราเสนาบดีกระทรวงนามีถึง ๙ ดวง ช่างเกินต้องการจริง สำหรับใช้ไปเอาอะไรต่ออะไรจำหน่ายออกเปรอะ ที่แท้ตราเสนาบดีเห็นจะเป็นพระพิรุณทรงนาคที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ ด้วยเป็นเทวดาผู้เป็นเจ้าน้ำอันต้องการสำหรับเพาะปลูก ตราอื่นอีก ๘ ดวง มีตราพิทยาธรถือดอกจงกลนี ตรานักคลินังคัลถือไถ เป็นต้น ไม่ใช่เทวดา ควรเป็นตราเจ้าพนักงาน เมื่อไม่มีตัวแล้ว เสนาบดีกวาดเอาไปรวมเก็บไว้ ภายหลังก็เลยหลงเป็นตราเสนาบดีไปทั้งหมด ก็อาจจะเป็นได้ (ดูลายของตรา ๙ ดวงนี้ในหนังสือเรื่องประวัติกระทรวงเกษตราธิการ)

"เมื่อสังเกตตามแนวเก่า ท่านย่อมใช้ตราเทวราชสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน ตราเทวดาผู้มีหน้าที่สำหรับเสนาบดี ดูก็เป็นการสมควร ตราเก่ามีเอาเทวราชมาทำให้เสนาบดีอยู่ดวงหนึ่ง คือ ตราจักร (ดู รูปที่ ๒๔) คิดด้วยเกล้าฯ ว่า สำหรับเจ้าพระยาจักรี ไม่ใช่สำหรับเสนาบดีมหาดไทย เจ้าพระยาจักรีคนแรกคงเป็นที่ทรงพระกรุณาไว้วางพระราชหฤทัยให้ทำการต่างพระองค์ถึงประหารชีวิตได้โดยลำพัง จึงตั้งชื่อเป็นนารายณ์ และพระราชทานตราจักราวุธนารายณ์เป็นเครื่องหมาย เป็น