หน้า:ระเบียบ ยธ (๒๕๔๖-๐๘-๑๕).pdf/3

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๒๐ ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง

๕ กันยายน ๒๕๔๖
หน้า ๕
ราชกิจจานุเบกษา

เมื่อจำเลยต้องคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้ประหารชีวิตและถูกคุมขังหรือถูกส่งตัวเข้าคุมขังในเรือนจำ ให้เรือนจำดำเนินการถ่ายรูป จัดทำแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ และบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับตำหนิรูปพรรณของจำเลยเช่นเดียวกับวรรคก่อน แต่ให้ระบุรายละเอียดเพิ่มเกี่ยวกับวันที่คดีถึงที่สุดและชั้นศาล เพื่อการตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง โดยให้จัดเก็บรูปถ่าย แผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับตำหนิรูปพรรณไว้ที่เรือนจำ ๑ ชุด นอกนั้นให้จัดส่งไปกรมราชทัณฑ์เพื่อจะได้ส่งต่อไปยังหน่วยงานตามวรรคหนึ่งตรวจสอบยืนยันตัวบุคคลว่า เป็นจำเลยในคดีที่ต้องคำพิพากษาให้ประหารชีวิตหรือไม่ โดยให้ผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาคดีนั้น พนักงานสอบสวนเจ้าของคดี และกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งผลการตรวจสอบไปที่กรมราชทัณฑ์

ผลการตรวจสอบรูปถ่ายและลายพิมพ์นิ้วมือ ให้เก็บรักษาไว้ที่กรมราชทัณฑ์

ข้อ  ให้เรือนจำจัดให้มีการตรวจสุขภาพจิตของจำเลยที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ประหารชีวิตทุกราย หากเป็นหญิง ให้เพิ่มการตรวจการตั้งครรภ์ด้วย และให้แจ้งสิทธิการถวายเรื่องราวขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยทราบ และสอบถามว่า มีความประสงค์จะใช้สิทธิถวายเรื่องราวขอพระราชทานอภัยโทษหรือไม่ ถ้าประสงค์จะใช้สิทธิดังกล่าว ให้เรือนจำช่วยเป็นธุระจัดการไปตามสมควร

ไม่ว่านักโทษจะถวายเรื่องราวขอพระราชทานอภัยโทษภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ก็ตาม ให้เรือนจำรายงานไปกรมราชทัณฑ์โดยด่วน

ข้อ  ในการประหารชีวิตนักโทษนั้น ให้มีคณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินการชุดหนึ่ง ประกอบด้วย ผู้บัญชาการเรือนจำแห่งท้องที่ที่จะทำการประหารชีวิตนักโทษเป็นประธาน มีผู้ว่าราชการจังหวัดแห่งท้องที่หรือผู้แทน อัยการจังหวัดแห่งท้องที่