หน้า:ระเบียบ ศย (๒๕๔๖-๐๑-๑๐).pdf/2

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๖ ก

๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
หน้า ๑๔
ราชกิจจานุเบกษา

๓.๑ การทำงานช่วยเหลือดูแลอำนวยความสะดวกหรือให้ความบันเทิงแก่คนพิการ คนชรา เด็กกำพร้าหรือผู้ป่วยในสถานสงเคราะห์หรือสถานพยาบาล งานวิชาการหรืองานบริการด้านการศึกษา เช่น การสอนหนังสือ การค้นคว้าวิจัย หรือการแปลเอกสาร เป็นต้น จำนวน ๒ ชั่วโมง เป็นการทำงานหนึ่งวัน

๓.๒ การทำงานวิชาชีพ งานช่างฝีมือหรืองานที่ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญ เช่น งานช่างฝีมือเครื่องยนต์ ก่อสร้าง คอมพิวเตอร์หรือวิชาชีพอย่างอื่น เป็นต้น จำนวน ๓ ชั่วโมงเป็นการทำงานหนึ่งวัน

๓.๓ การทำงานบริการสังคมหรือบำเพ็ญสาธารณประโยชน์อื่นที่ไม่ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญหรืองานอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ เช่น งานทำความสะอาดหรือพัฒนาสถานที่สาธารณะ งานปลูกป่า หรือดูแลสวนป่าหรือสวนสาธารณะ งานจราจร เป็นต้น จำนวน ๔ ชั่วโมง เป็นการทำงานหนึ่งวัน

ในกรณีมีเหตุอันสมควร ศาลอาจกำหนดจำนวนชั่วโมงการทำงานตามวรรคหนึ่งให้ลดน้อยลงได้ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามข้อ ๗ และให้ระบุเหตุผลไว้โดยชัดแจ้งด้วย

หมวด ๓
แนวปฏิบัติในการมีคำสั่งให้ทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์


ข้อ  ผู้ต้องโทษปรับซึ่งไม่มีเงินชำระค่าปรับอาจร้องขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดี โดยระบุรายละเอียดและประวัติของผู้ร้องตามแบบพิมพ์ที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้

ข้อ  ในคดีที่ศาลมีคำพิพากษาปรับไม่เกินแปดหมื่นบาท ศาลอาจสอบถามว่าผู้ต้องโทษปรับมีเงินชำระค่าปรับหรือไม่ และแจ้งให้ทราบถึงสิทธิที่จะขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับก็ได้

ให้ศาลจัดให้มีการช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการจัดทำและยื่นคำร้องตามข้อ ๔ ด้วย

ข้อ  ในการพิจารณาว่า สมควรให้ผู้ต้องโทษปรับทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับหรือไม่ ศาลควรคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดจากมาตรการบริการสังคมและสาธารณประโยชน์ให้มาก และพึงให้ความสำคัญแก่ข้อมูลที่เกี่ยวกับฐานะการเงิน ประวัติ และสภาพความผิดของผู้ต้องโทษปรับ