หน้า:ระเบียบ ศย (๒๕๔๖-๐๑-๑๐).pdf/3

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๖ ก

๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
หน้า ๑๕
ราชกิจจานุเบกษา

และเพื่อการนี้ ศาลอาจสอบถามหรือไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการพิจารณาครบถ้วนรวมทั้งอาจขอความร่วมมือจากพนักงานอัยการหรือหน่วยงานอื่นในการสืบเสาะหาข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้

ฐานะการเงินของผู้ต้องโทษปรับ ให้พิจารณาจากรายได้ ทรัพย์สิน ความเป็นอยู่ ภาระหนี้สินต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้นั้นมีเงินพอที่จะชำระค่าปรับในเวลาที่ยื่นคำร้องหรือไม่

ประวัติของผู้ต้องโทษปรับให้พิจารณาถึงประวัติการกระทำความผิด การศึกษา อาชีพ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ครอบครัว และสภาพแวดล้อม รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลประการอื่น

สภาพความผิด ให้พิจารณาถึงความหนักเบาแห่งข้อหา ความรุนแรงของการกระทำความผิด สภาวะทางจิตใจ การกระทำความผิดโดยเจตนาหรือประมาท ความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิด สภาพความผิดที่ไม่ควรอนุญาตให้ทำงานแทนค่าปรับ ได้แก่ ความผิดที่ได้กระทำไปด้วยเจตนาร้ายหรือทุจริตฉ้อฉล อันมีผลกระทบต่อสาธารณชนส่วนรวม หรือความผิดที่กฎหมายมุ่งประสงค์จะลงโทษในทางทรัพย์สินต่อผู้กระทำผิดเพื่อมิให้ผู้นั้นได้รับประโยชน์จากการกระทำความผิด เช่น ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ความผิดเกี่ยวกับการค้ายาเสพติด ความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการสถาบันการเงิน หรือความผิดตามกฎหมายศุลกากร เป็นต้น

ข้อ  กำหนดระยะเวลา สถานที่ และประเภทของการทำงานบริการสังคมหรือการทำงานสาธารณประโยชน์ นอกจากปัจจัยต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๐/๑ วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ศาลควรพิจารณาด้วยว่า การทำงานนั้นต้องไม่ก่อความเสียหายแก่สังคมหรือบุคคลอื่น และต้องไม่ก่อให้เกิดภาระเกินสมควรแก่ผู้ต้องโทษปรับ ทั้งนี้ ให้พิจารณาจากวิถีชีวิต การดำรงชีพ การศึกษาเล่าเรียน ความรับผิดชอบต่อครอบครัว ระยะทางและความสะดวกในการเดินทางไปทำงาน ความเป็นผู้ป่วยเจ็บหรือเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง การติดยาเสพติดหรือสุราเรื้อรัง ประวัติในการกระทำผิดทางเพศ พฤติกรรมในทางก้าวร้าวรุนแรง ปัญหาทางอารมณ์หรือความบกพร่องทางจิตของผู้ต้องโทษปรับด้วย

ข้อ  ระยะเวลาการทำงานของผู้ต้องโทษปรับในแต่ละวัน ไม่ควรกำหนดให้เกินวันละ ๖ ชั่วโมง โดยพิจารณาจากลักษณะหรือประเภท และความเหมาะสมของงาน ความจำเป็นของผู้ต้องโทษปรับรวมถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นประกอบด้วย

เมื่อผู้ต้องโทษปรับทำงานครบจำนวนชั่วโมงที่กำหนดไว้ตามข้อ ๓ ก็ให้ถือว่า ได้ทำงานหนึ่งวันและให้นับเช่นนั้นไปจนครบจำนวนชั่วโมงที่ได้ทำงานทั้งหมดรวมกัน