หน้า:รัฐธรรมนูญบริติช (ดิเรก ชัยนาม, 2490).pdf/34

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๐

(๒) ไม่เป็นผู้ที่อาจซื้อได้ (incorruptibility); และ (๓) มีประสิทธิภาพดี (Eifficiency)

ปัญหามีต่อไปว่า รัฐมนตรีหรือเจ้ากระทรวงจะทำการค้าได้หรือไม่ ธรรมเนียมที่ปฏิบัติในอังกฤษนั้น รัฐมนตรีมีหุ้นส่วนในบริษัทการค้าได้ แต่ห้ามเป็นกรรมการบริษัท เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๙ (ค.ศ. ๑๙๐๖) รัฐบาลของเซอร์เฮนรี แคมเบล เบนเนอรแมน (Sir Henry Campbell Bannerman) ได้วางหลักไว้ว่า รัฐมนตรีหรือเจ้ากระทรวงที่เคยเป็นกรรมการบริษัทอยู่ก่อนเข้ารับตำแหน่ง ต้องลาออกจากกรรมการนั้น ๆ เว้นไว้แต่เป็นกรรมการกิติมศักดิ์ในองค์การการกุศล และกรรมการในบริษัทเอกชน (private companies) คำว่า บริษัทเอกชน นี้ เซอร์เฮนรีขยายความว่า หมายถึง ถ้ารัฐมนตรีหรือเจ้ากระทรวงมีผลประโยชน์ส่วนได้เสียเหมือนกันสาระสำคัญอย่างผู้ถือหุ้นทั่วไปในร้านค้าขาย โดยไม่มีสิทธิพิเศษอย่างอื่น ซึ่งหมายความว่า ถ้าเป็นกรรมการ แต่มีสิทธิพิเศษยิ่งไปกว่าผู้ถือหุ้นแล้ว เป็นไม่ได้ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ (ค.ศ. ๑๙๒๖) นายบอลด์วิน นายกรัฐมนตรี ซึ่งบัดนี้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเอิร์ล ได้แถลงยืนยันหลักดังกล่าวนี้ และแถลงเพิ่มเติมว่า เท่าที่ท่านทราบ คณะรัฐมนตรีชุดก่อน ๆ ซึ่งท่านร่วมอยู่ด้วย ได้ปฏิบัติตามนี้ และท่านเชื่อว่า แม้ในคณะรัฐมนตรีชุดก่อนที่ท่านไม่ได้ร่วมอยู่ด้วยก็ดี ได้ถือหลักว่า เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาถึงปัญหาหนึ่งใดซึ่งรัฐมนตรีผู้นั้นมีส่วนได้เสียอยู่ด้วย รัฐมนตรีผู้นั้นมักจะแถลงให้ที่ประชุมทราบว่า ตนมีส่วนได้เสียอยู่ด้วย และบางคราว ไม่อภิปรายด้วย หรือถ้าอภิปรายด้วย ก็โดยเพื่อนร่วมคณะทราบฐานะดี โดยปกติ รัฐมนตรีที่ไม่ได้