หน้า:รับสั่ง - ดำรง - ๒๔๙๓.pdf/16

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
10
 

มีทั้งเงินตราอย่างที่พบที่นครปฐมและที่ดงศรีมหาโพธิ และยังมีตราอย่างอื่นอีก สอบหลักฐานได้ว่า เป็นเงินอินเดียทั้งนั้น คือ เงินตราที่พวกชาวอินเดียเอาเข้ามาใช้ในทางการค้าขายตามประเทศเหล่านี้ ไม่ใช่ทำใช้ในเมืองนครปฐมหรือที่เมืองพุกาม

แต่โบราณ ประเพณีการใช้เงินซื้อขาย กำหนดราคาเงินด้วยน้ำหนัก เวลาใช้ต้องชั่งเสมอไป ตราต่าง ๆ ที่ดีไว้กับเงินเป็นเครื่องหมายชื่อของพ่อค้าที่ทำหรือแห่งที่ทำเงินนั้น กับบอกน้ำเงินและน้ำหนักอย่างรับประกันความบริสุทธิ์ของเงินตราที่ทำขายนั้น ใช้ประเพณีนี้กันทุกประเทศทางตะวันออกตั้งแต่อินเดียตลอดจนถึงเมืองจีน เมื่อพวกฝรั่งชาวโยนก (กรีก) มาได้ครองเมืองอินเดีย เข้าทางฝ่ายเหนือ จึงนำวิธีทำเงินเหรียญตีตราของพระเจ้าแผ่นดินมาใช้ แต่ก็ใช้อยู่เพียงชั่วคราว ยังใช้น้ำหนักเป็นมาตราเป็นพื้น จนถึงสมัยเมื่ออังกฤษได้อินเดีย จึงเอาการทำเงินตราการผูกขาดเป็นของรัฐบาลและทำเหรียญรูปีใช้ต่อมา พวกพะม่ากับพวกอินเดียมีการไปมาค้าขายติดต่อกันอยู่เสมอ พะม่าจึงใช้เงินรูปีจากอังกฤษ ถือเป็นตราของบ้านเมืองมาช้านาน ทางเมืองจีนก็เป็นทำนองเดียวกัน เดิมจีนก็ใช้ราคาเงินด้วยน้ำหนัก ครั้นเมื่อยอมให้ฝรั่งมาค้าขาย พวกฝรั่งเอาเงินเหรียญตราที่ทำในประเทศแมกซิโกมาซื้อสินค้า พวกจีนชอบ ด้วยเงินแมกซิโกเนื้อเงินดีและน้ำหนักเท่ากัน ไม่ต้องชั่งให้ลำบาก ก็รับใช้เงินแมกซิโกเป็นอย่างเงินของจีน เมืองไทยเราเดมก็ใช้เงินด้วยน้ำหนักเหมือนอย่างเงินตราขาคีมที่ตีตราและอักษรไทยบอกนามเมืองก็ดี เงินพดด้วงขนาดใหญ่ตีตราช้างและตราอื่น ๆ ก็ดี เงินลาดตีตราใช้ทางมณฑลอุดรแต่ก่อนก็ดี ว่าตามพิจาณราตัวอย่างเงินที่มีอยู่ ดูก็จะเป็นเงินที่พ่อค้าทำขายอย่างประเพณีโบราณในอินเดียและเมืองจีนดังกล่าวแล้ว จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงเอาการทำเงินตรามาเป็นการหลวง และห้ามมิให้ผู้