หน้า:รายงานการประชุม สผ (๒๔๗๕-๑๑-๑๖).pdf/22

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๖๕

หายแก่การงานของแผ่นดิน แต่ว่าเมื่ออกไปแล้ว ถึงเวลาที่สภาประชุมกัน สภามีอำนาจบริบูรณ์ที่จะตัดสินว่า กฎหมายเหล่านั้นให้คงเป็นกฎหมายต่อไปหรือให้เลิกเสีย ความในมาตรานี้กำหนดไว้ว่า พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้ดั่งเช่นพระราชบัญญัติก็ได้

ในหมวดสภาผู้แทนราษฎรก็ตาม ในหมวดคณะกรรมการราษฎรก็ตาม มีข้อความอยู่หลายมาตราที่กำหนดว่า พระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติการต่าง ๆ เหล่านั้น หมายความว่า ทรงปฏิบัติด้วยคำแนะนำของคณะกรรมการราษฎร กำหนดในข้อนี้มีอยู่ในมาตรา ๕๗ ซึ่งบัญญัติว่า บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใด ๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน กรรมการราษฎรจะต้องลงนามรับพระบรมราชโองการทุกเรื่องทุกรายไป

ในหลักการปกครองราชาธิปไตยอำนาจจำกัดนั้น พระมหากษัตริย์ไม่ต้องทรงรับผิดในกิจการใด ๆ เพราะฉะนั้น กรรมการราษฎรจึ่งต้องลงชื่อรับพระบรมราชโองการ แปลว่า เป็นผู้รับผิดชอบ

หมวด ๕ ว่าด้วยเรื่องอำนาจตุลาการในการพิพากษาอรรถคดี

หมวด ๖ ว่าด้วยข้อความที่ต่างลักษณะกับในหมวดอื่น ๆ ความสำคัญของหมวดนี้มีอยู่ ๒ มาตรา คือ มาตรา ๖๒, ๖๓ มาตรา ๖๒ บัญญัติว่า สิทธิในการตีความแห่งรัฐธรรมนูญนี้อยู่แก่สภาเป็นการ