หน้า:รายงานการประชุม สผ (๒๔๗๕-๑๑-๑๖).pdf/24

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๖๗

ในที่สุด ข้าพเจ้าขอกล่าวเพิ่มเติมว่า มีคำอยู่คำหนึ่งในร่างที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทัก คือ คำว่า คณะกรรมการราษฎร กับ กรรมการราษฎร ทรงรับสั่งว่า คำไม่เพราะและไม่ค่อยจะถูกเรื่องตามแบบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ และทรงติเช่นนี้ จึงขอนำเสนอให้ทราบด้วย

สำเนาลายพระหัตถ์เลขา เรื่อง เจ้านายเหนือการเมือง
(สำเนา) ที่ ๑๐๑ รับวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๗๕
ที่ ๑/๖๐
สวนจิตรลดา
วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๗๕
 
ถึง พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ประธานคณะกรรมการราษฎร

หนังสือ ที่ ๑๑๒/๑๓๐๘ ลงวันที่ ๑๑ เดือนนี้ ว่า ในการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม มีความข้อหนึ่งลังเลใจอยู่ คือ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องแก่พระบรมวงศานุวงศ์ จะควรดำรงอยู่ในฐานะอย่างใดในทางการเมือง กล่าวโดยหลักการ พระบรมวงศานุวงศ์ย่อมดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพ เหนือความที่จะพึงถูกติเตียน ไม่ควรแก่ตำแหน่งทางการเมืองซึ่งเป็นการงานที่นำมาทั้งในทางพระเดชและพระคุณ ย่อมอยู่ในวงอันจะต้องถูกติถูกชม อีกเหตุหนึ่ง จะนำมาซึ่งความขนขื่นในเมื่อเวลาทำ electoral campaign อันเป็นเวลาที่ต่างฝ่ายหาโอกาส attack ซึ่งกันและกัน พระยามโนฯ เห็นว่า เพื่อความสงบเรียบร้อยสมัครสมานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในระวางเจ้านายกับราษฎร