หน้า:รายงานการประชุม สผ (๒๔๗๕-๑๑-๒๓).pdf/7

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๕๗

กู้กับผู้กู้ ผลร้ายก็อาจจะบังเกิดขึ้นเนื่องจากการที่ให้คิดเอาดอกเบี้ยแต่น้อย ราษฎรผู้จนจะไปพึ่งหาใคร แต่ทั้งนี้ มิใช่คัดค้าน เพราะฉะนั้น ถ้าแม้จะออกพระราชบัญญัตินี้ ก็ควรมีข้อบัญญัติไว้ว่า สักเท่าไรจึงจะพอสมควร ไปพลางก่อน

หลวงแสงนิติศาสตร์กล่าวว่า ตามเนื้อเรื่องแล้ว มีความเห็นพ้องด้วยเป็นอย่างยิ่งที่สมควรจะคิดป้องกัน แต่มีปัญหาว่า ถึงเวลาแล้วหรือยัง และจะมีผลได้เพียงไร เสียเพียงไร เพื่อให้รู้ถึงข้อนี้ ควรระลึกถึงความเป็นไปโดยทั่ว ๆ ไปถึงการคิดดอกเบี้ย เท่าที่ทราบมาโดยมากในหัวเมือง เห็นว่า มีอัตราประมาณชั่งละ ๒ บาทเป็นอย่างสูง ส่วนที่มีดอกเบี้ยแพงมาก ก็เห็นมีแต่ในกรุงเทพฯ และคนที่ต้องเสียดอกเบี้ยแพง ๆ ก็เป็นคนชั้นต่ำ มีอัตราตั้งแต่ร้อยละ ๕ ถึงร้อยละ ๒๐ บาทก็มี ส่วนชาวนานั้น อัตราดอกเบี้ยที่กู้ยืมไม่มากมายถึงเพียงนี้ ถ้าไปบังคับคนมีเงินก็จะไม่ให้ ชาวนาก็ไม่มีทางจะไปเอาที่ไหน เป็นเหตุให้ไมมีเงินทำนา ผลร้ายก็จะเกิดขึ้น ส่วนการที่ชาวนาต้องยากจนลงนั้น มิใช่แต่ฉะเพาะในทางดอกเบี้ยที่ต้องกู้ยืมเขาแพง ๆ แต่มีทางรั่วไหลอื่นอีกมาก เช่น ซื้อเครื่องอุปกรณ์ เครื่องนุ่มห่ม และสิ่งของรับประทาน ซึ่งต้องจ่ายหาโดยราคาแพง ๆ เมื่อไม่มีเงิน ก็ต้องเชื่อ พอถึงคราวเกี่ยวเข้าได้ ก็ต้องเอาเงินมาใช้หนี้ บางทีเจ้าหนี้ไม่ยอมให้ถึงเวลาเกี่ยวเข้า เจ้าหนี้ก็ทวงถามเอา ซึ่งชาวนาจะต้องใช้เข้าแทน บางทีของที่ซื้อมาเพียง ๓ บาท ก็ต้องเสียเข้าให้แก่เจ้าหนี้เป็นราคาตั้ง ๔–๕ 

๓๓