หน้า:รายงานการประชุม สผ (๒๔๗๕-๑๑-๒๕) a.pdf/20

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๘๖

ราษฎรนั้น คงหมายความว่า จะใช้อำนาจบริหารได้ก็โดยความแนะนำและยินยอมของคณะกรรมการราษฎรเช่นนั้นหรือไม่? ถ้ามีความหมายเช่นนั้น เห็นควรจะใช้ถ้อยคำให้ harmonise กับมาตรา ๖ ด้วย คือ พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจบริหารโดยความแนะนำและยินยอมของคณะกรรมการราษฎร

ประธานอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญกล่าวว่า ความประสงค์อันยิ่งใหญ่ของเรานั้น พระเจ้าแผ่นดินท่านเป็นหัวหน้าในทาง Executive แต่ในทาง absolutism กับ Constitutionalism นั้นผิดกัน ในทาง Absolutism นั้น การบริหารใด ๆ เป็นพระราชอำนาจ แต่ในทาง Constitutionalism นั้น อำนาจบริหาร ท่านทรงใช้ในทางคณะกรรมการราษฎร และสิ่งที่เป็นประกันเราอยู่ ก็จำต้องผ่านทางคณะกรรมการราษฎรนั้น ดั่งที่ปรากฏในมาตรา ๕๗ ซึ่งมีว่า "…พระราชหัดถเลขาและพระบรมราชโองการใด ๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ท่านว่า กรรมการราษฎรคนใดคนหนึ่งต้องลงนามรับพระบรมราชโองการเป็นผู้รับผิดชอบ" ซึ่งแปลว่า ต้องผ่านกรรมการลงนามรับรอง พระราชหัดถเลขาหรือพระบรมราชโองการนั้น ๆ จึ่งจะสั่งการแผ่นดินได้ แต่ว่า ถ้าจะใส่ลงไปก็ได้ แต่เห็นว่า ไม่จำเป็น

พระยาราชวังสันกล่าวว่า การที่จะใส่นั้น จะขัดข้อง เพราะเหตุว่า อำนาจอธิปไตยออกจากสภาผู้แทนราษฎร การที่คณะกรรมการราษฎรก็ดี พระเจ้าแผ่นดินก็ดี จะปฏิบัติการได้ ก็ต้องปฏิบัติโดย