หน้า:รายงานการประชุม สผ (๒๔๗๕-๑๑-๒๕) a.pdf/21

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๘๗

คำแนะนำยนยอมของสภาตามเกณฑ์อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น จึ่งเห็นว่า ไม่จำเป็น

พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์กล่าวว่า ในมาตรา ๖–๗–๘ นั้น มีคำที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจผิดกัน ๓ อย่าง คือ มาตรา ๖ โดยคำแนะนำยินยอมของสภาฯ มาตรา ๗ ทางคณะกรรมการราษฎร มาตรา ๘ ทางศาล ฯลฯ นั้น วิธีปฏิบัติการ และตามกฎหมายที่เป็นอยู่บัดนี้ คือ ตามรัฐธรรมนูญ สภาเป็นผู้ร่างกฎหมายทูลเกล้าฯ ถวายทรงเซ็นเป็นกฎหมาย ทางฝ่ายธุระการ ทางคณะกรรมการราษฎรแนะนำทูลเกล้าฯ ถวายขึ้นไปแล้วกระทำ ส่วนทางศาล พระเจ้าอยู่หัวมิได้ทำอะไรในการตัดสิน ศาลพิจารณาพิพากษาไปเอง เป็นแต่เมื่อศาลลงโทษแล้ว ไป pardon ทีหลังได้ สำหรับมาตรา ๗ นั้น วิธีปฏิบัติการเช่นเดียวกับมาตรา ๖ คือ มาตรา ๖ สภาทำส่งทูลเกล้าฯ ถวาย ส่วนมาตรา ๘ คณะกรรมการราษฎรเป็นผู้ทำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย จึ่งเห็นว่า ควรจะใช้คำ โดยแนะนำยินยอม ให้เหมือนมาตรา ๖ ส่วนมาตรา ๘ คงไว้เช่นเดิมดีแล้ว เพราะกษัตริย์มิได้ทำอะไร ถ้าหากจะใช้คำ "ทาง" ทั้งมาตรา ๗ และ ๘ เหมือนหัน จะทำให้เข้าใจว่า คณะกรรมการราษฎรทำเองโดยมิได้ทูลเกล้าฯ ถวายเสียก่อน

พระยาศรีวิสารวาจากล่าวว่า ในมาตรา ๗ นี้ ที่มีปัญหาถกกันนั้น ก็กะทบถึงการใช้และถึงอำนาจที่จะใช้ในทางบริหารทางคณะกรรมการราษฎร ซึ่งเป็นวิธีเขียน และในรัฐธรรมนูญในต่างประเทศ