หน้า:รายงานการประชุม สผ (๒๔๗๕-๑๑-๒๕) a.pdf/25

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๙๑

แผ่นดินมีเครื่องมือ คือ ใช้พวกเสนาบดีเจ้ากระทรวงเป็นเครื่องจักร์เป็นชั้น ๆ สำหรับติดต่อระวางพระเจ้าแผ่นดินกับราษฎร ส่วนอำนาจในทางนีติบัญญัตินั้น พระเจ้าแผ่นดินได้รับอำนาจทางสภามอบให้ใช้ ซึ่งสมควรเรียกว่า ด้วยความแนะนำและยินยอมจากสภา ส่วนในมาตรา ๗ ที่จะใช้ว่าด้วยความแนะนำและยินยอมคณะกรรมการราษฎรนั้น ไม่สมควร ควรจะใช้แต่ฉะเพาะสภานี้เท่านั้น มิใช่อยู่ในคณะเสนาบดี (คณะกรรมการราษฎร)

หลวงเดชาติวงศ์ฯ กล่าวว่า ตามที่ได้อ่านดูในมาตรา ๗ นี้ มีคำว่า อำนาจบริหาร หมายความว่า Execution อันจะหมายความว่า บริหารทางนีติบัญญัติ หรือบริหารราชการแผ่นดิน ขอให้สมาชิกดูความในมาตรา ๔๖ ซึ่งมีว่า พระมหากษัตริย์ทรงตั้งกรรมการราษฎรขึ้นคณะหนึ่ง จึ่งหวังว่า จะไม่ลืมความข้อนี้ เพราะคณะกรรมการราษฎรนั้น สภาเป็นผู้ตั้ง แต่ในมาตรา ๔๖ นั้น พระมหากษัตริย์ทรงตั้ง และดูตามตัวหนังสือแล้ว ในมาตรา ๗ ท่านทรงใช้อำนาจในทางคณะกรรมการราษฎร และที่เข้าใจ ในปาเลียเมนต์อังกฤษ party politics ซึ่งย่อมมี Majority และอาจจะเลือก leader ของ party นั้นขึ้นมา ในที่นี้ เรายังไม่มี ฉะนั้น เมื่อความมีเช่นนี้จะลำบาก แต่มีอยู่อีกข้อหนึ่งที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะโว๊ด Confidence

ประธานอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญกล่าวว่า จะอ่านความแต่ฉะเพาะมาตรา ๖ กับ ๔๖ เท่านั้นไม่ได้ จะต้องอ่านมาตรา ๖–๔๑