หน้า:รายงานการประชุม สผ (๒๔๗๕-๑๑-๒๕) a.pdf/27

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๙๓

นายจรูญ ณบางช้าง กล่าวว่า เท่าที่มีอยู่แล้วก็ชัดเจนดี และจำเป็นที่ต้องการอย่างนี้ด้วย และในการที่จะกระทำการใด ๆ อันเกี่ยวแก่การบริหารนั้น ก็ทำได้ทางเดียว คือ ทางคณะกรรมการราษฎร อีกประการหนึ่ง ในมาตรา ๔๖ ก็ว่า ท่านตั้งคณะกรรมการราษฎร ถ้าว่า จะให้เป็นไปโดยความแนะนำและยินยอมแล้ว จะผิดหลักไป

นายจรูญ สืบแสง กล่าวว่า ที่เถียงกันอยู่ก็ฉะเพาะความในมาตรา ๗ ฉะนั้น จึ่งอยากให้ลงมติแปรความว่า ทาง ให้ชัด

ประธานสภาฯ กล่าวว่า เมื่อไม่มีผู้ใดจะอภิปรายอีกแล้ว เห็นว่า ตามที่ได้พิจารณากันมานั้น มีความสำคัญก็แต่ในมาตรา ๗ ส่วน ๖–๘ นั้นไม่มีปัญหาสำคัญ รอไว้พิจารณาภายหลัง เพราะความชัดเจนแล้ว จึ่งขอให้ลงคะแนนในมาตรา ๗ ว่า จะยอมให้ใช้ได้หรือไม่ สมาชิกส่วนมากเห็นชอบตามที่ประธานอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเสนอขอให้ตัดคำว่า "พระราช" ออก เป็นอันว่า มาตรา ๗ ใช้ได้

มาตรา ๖ หลวงแสงฯ เสนอขอแก้คำว่า "สภาผู้แทนราษฎร" เป็น "รัฐสภา"

นายดิเรก ชัยนาม กล่าวว่า ไม่เห็นชอบตามที่หลวงแสงฯ ขอแก้ เพราะคำว่า รัฐสภา นั้น เป็นคำรวม แปลว่า ปาเลียเมนต์ สภาของอังกฤษมี ๒ สภา คือ สภาขุนนางและสภาราษฎร รวมกันเรียกเป็น

๕๐