หน้า:ลักษณะการปกครองฯ - ดำรง - ๒๔๙๘.pdf/41

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๒

บัญญัติไว้อย่างนั้น ๆ รูปกฎหมายที่แรกตั้งยังมีปรากฏหลายบท จะพึงเห็นได้ในกฎหมายเก่าฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม ตอนพระราชกำหนดเก่า พระราชกำหนดใหม่ และกฎหมายพระสงฆ์

เพราะกฎหมายซึ่งตั้งขึ้นชั้นแรกดังกล่าวมามีความส่วนบานแพนกซึ่งเล่าเรื่องมูลเหตุยืดยาว เรื่องมูลเหตุนั้นไม่ต้องการใช้เมื่อยกบทกฎหมายมาพิพากษาคดี จึงมีวิธีทำกฎหมายย่ออีกอย่าง ๑ คือ ตัดความที่ไม่ต้องการออกเสีย กฎหมายอย่างย่อนี้ยังปรากฏอยู่ในบทซึ่งเรียกว่า กฎหมายสามสิบหกข้อ และเรียกว่า พระราชบัญญัติ ในกฎหมายพิมพ์ ๒ เล่ม

แม้ย่ออย่างนั้นแล้ว เมื่อจำเนียรกาลนานมา มีบทกฎหมายมากเข้า ก็ค้นยาก จึงตัดลงอีกชั้นหนึ่ง ดูเหมือนพวกพราหมณ์ชาวอินเดียจะมาสอนให้ทำอนุโลมตามแบบมนุธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นหลักกฎหมายในอินเดีย คือ ตัดความส่วนอื่นออกหมด คงไว้แต่ที่เป็นตัวข้อบังคับ เอาเรียงลำดับเป็นมาตรา แล้วแยกออกเป็นลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น ลักษณะโจร และลักษณะกู้หนี้ เป็นต้น กฎหมายเก่าจึงปรากฏอยู่เช่นนี้เป็นพื้น

หนังสือกฎหมายไทยสูญไปเสียครั้งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าข้าศึกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ เป็นอันมาก ถึงรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๓๔๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้รวบรวมฉบับกฎหมายมาตรวจชำระ เลือกแต่ที่จะให้คงใช้ เขียนเป็นฉบับหลวงขึ้น ๓ ฉบับ ประทับตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และ