หน้า:วรรณกรรมต่างเรื่อง - ๒๕๐๕.pdf/6

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

พอประกอบอาชีพส่วนตัวได้เป็นปกติ จนต่อมา มีอาการเจ็บป่วยมากขึ้นจนไม่สามารถจะลุกเดินได้เป็นปกติ จึงได้ทำการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชอยู่ประมาณ ๑ เดือน อาการแต่มีทรงและทรุดลง จึงได้กลับไปรักษาตัวอยู่ที่บ้าน แต่มีอาการทรุดหนักเพียบลงเป็นลำดับ จนกระทั่งถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๐๕ รวมอายุได้ ๖๐ ปี ๑ เดือน ๘ วัน

ขณะที่นางเทียบ เพชรพลาย ยังมีชีวิตอยู่ ได้อุตสาหะพากเพียรประกอบอาชีพและอบรมบุตรธิดาด้วยความมานะอดทนตลอดมา และประกอบกับนางเทียบ เพชรพลาย เป็นผู้มีนิสัยใจคอโอบอ้อมอารีเมตตากรุณาแก่บุคคลทั่วไป และหมั่นประกอบการบุญการกุศลอยู่เป็นเนืองนิจ ฉะนั้น ในการที่นางเทียบฯ ถึงแก่กรรมลงในครั้งนี้ จึงเป็นที่น่าเสียดายและอาลัยรักอย่างสุดซึ้งแก่บรรดาลูก ๆ ญาติพี่น้อง และผู้รู้จักคุ้นเคยเป็นอันมาก

สาเหตุที่ใช้นามสกุล "เร็วพลัน" เนื่องจากขณะที่ ร.ท. เยี่ยม เพชรพลาย ได้ย้ายไปรับราชการทหารอยู่ที่กรมทหารม้า มณฑลทหารบกนครราชสีมา ได้รับพระราชทานนามสกุลใหม่เป็น "เร็วพลัน" (ซึ่งในขณะนั้น มีเพื่อนนายทหารรุ่นเดียวกันกับ ร.ท. เยี่ยม เพชรพลาย ได้รับพระราชทานนามสกุลพร้อมในคราวเดียวกันดังนี้ คือ เร็วพลัน (ร.ท. เยี่ยมฯ) ทันด่วน, วิ่งคล่อง ว่องไว) ต่อมา ร.ท. เยี่ยมฯ ได้ลาออกจากราชการมารับราชการอยู่ที่กรมไปรษณีย์โทรเลข ก็ยังคงใช้นามสกุล "เร็วพลัน" เรื่อยมา เมื่อออกจากราชการรับบำเหน็จบำนาญแล้ว จึงได้เปลี่ยนมาใช้นามสกุล "เพชรพลาย" ตามเดิม


๒๕ เมษายน ๒๕๐๕