หน้า:สธ 59-3175.pdf/2

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
- ๒ -

ทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่ามหาศาล อาจสูงถึง ๕.๖ พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ ๑.๑๑ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (ข้อมูลจาก ASEAN Development Bank) ภาคธุรกิจประสบปัญหาจนต้องปิดกิจการและลดจำนวนพนักงาน ส่งผลให้มีประชาชนชั้นกลางและประชากรกลุ่มเปราะบางจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบต่อความมั่นคงในการดำรงชีวิตพื้นฐาน

แม้ว่าที่ผ่านมา ประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในการควบคุมป้องกันโรคได้อย่างดียิ่ง แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดการระบาดของโรคได้ในระลอกที่ ๒ เนื่องด้วยยังมีผู้ป่วยจำนวนมากทั่วโลก หากสถานการณ?การระบาดไม่สามารถยุติได้ในระยะเวลาอันใกล้ การเปิดประเทศเพื่อเดินหน้าสู่การดำเนินชีวิต New Normal คู่ขนานไปกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจึงเป็นไปได้ยาก และรัฐบาลยังมีความจำเป็นต้องมีมาตรการช่วยเหลือ เพื่อประคองกิจการต่าง ๆ ในประเทศให้สามารถดำเนินการต่อไปนี้ ดังนั้น วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 จึงเป็นเครื่องมือสำคัญ เป็นนวัตกรรมทางสุขภาพและเป็นยุทธปัจจัยที่มีประสิทธิภาพสูงที่จะเป็นคำตอบในการป้องกันควบคุมโรค และเป็นความหวังของทุกประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย การเร่งรัดให้มีวัคซีนใช้ในประเทศเร็วขึ้นจะก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกกับเศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ

แผน Blueprint เพื่อการเข้าถึงวัคซีนป้องกัน COVID-19 ของประชาชนไทย ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๓ ซึ่งถือเป็นกรอบนโยบายในการบูรณาการประสานความรา่วมมือระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน โดยดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สำคัญ ๒ ด้าน ได้แก่ ๑) การนำวัคซีนต้นแบบที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศมาทดสอบในประเทศไทย และขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการผลิต (เป้าหมายระยะสั้น และระยะกลาง) และ ๒) พัฒนาวัคซีนต้นแบบในประเทศไทยตั้งแต่ต้นน้ำ (เป้าหมายระยะกลาง และระยะยาว) ในการบรรลุเป้าหมายการเข้าถึงวัคซีนให้ทันท่วงที และสร้างขีดความสามารถของประเทศในการพัฒนาและผลิตวัคซีนเพื่อให้ประชาชนไทยได้รับวัคซีนโดยเร็วที่สุด

๑.๒ ผลการดำเนินการที่ผ่านมา

กระทรวงสาธารณสุข โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้ให้การสนับสนุนและส้ร้างความร่วมมือกับสถาบันวิจัยพัฒนา และหน่วยผลิตวัคซีนในประเทศ ตลอดจนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อส่งเสริมการผลิตวัคซีนใช้ได้เงอในประเทศตั้งแต่ต้นน้ำ นอกจากนี้ ยังได้มีการเจรจาสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทั้งจากประเทศจีน และยุโรป ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า การรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้ผลิตที่มีแนวโน้มจะได้วัคซีนมาใช้ภายในต้นปี พ.ศ. ๒๕๖๔ มีความเป็นไปได้ในทางเลือกที่รัฐบาลควรลงทุน เพื่อสร้างโอกาสให้ประเทศไทยก้าวข้ามสถานการณ์การระบาดได้อย่างก้าวกระโดด เนืื่องจากการมีวัคซีนใช้เร็วขึ้น ๑ เดือน จะช่วยให้ประเทศสามารถสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประมาณ ๒.๕ แสนล้านบาท และยังสร้างผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจ รวมทั้งความเชื่อมั่นของประชาชนไทยด้วย

วัคซีนโควิด 19 หลายชนิดที่มีการพัฒนาในปัจจุบัน วัคซีนกลุ่ม Adenovirus เป็นที่ยอมรับในระดับโลกและมีการพัฒนาที่ใกล้สำเร็จ โดยเฉพาะวัคซีนชนิด Chimpanzee Adenovirus ที่พัฒนาโดย Oxford University ร่วมกับผู้ผลิตคือบริษัท AstraZeneca มีผลการวิจัยในมนุษย์ระยะที่ ๒ ที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้อย่างดี และขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยในมนุษย์ ระยะที่ ๓ คาดว่าหากวัคซีนแสดงผล

ในการป้องกัน ...