หน้า:สนทนากับผู้ร้ายปล้น - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๖๘.pdf/44

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๓

เมืองสุพรรณบุรี ผ่านไปในท้องที่ผู้ใหญ่บ้านเกด ๆ ตีเกราะเรียกลูกบ้านออกไล่พักเดียว ผู้ร้ายก็ต้องทิ้งกระบือหมด

๙๗ ถามว่า ทำไมผู้ร้ายจึงจะรู้ได้ว่า ผู้ใหญ่บ้านคนใดแขงแรง และคนใดไม่แขงแรง

ตอบว่า ข้อนี้ผู้ร้ายต้องสืบสวนอยู่เสมอเพื่อจะให้รู้ว่า กำนันผู้ใหญ่บ้านคนใดเห็นแก่ราชการแขงแรง คนใดเปนคนอ่อนแอ และคนใดเปนนักเลง ผู้ร้ายยำเกรงผู้ใหญ่บ้านที่แขงแรงฉันใด ก็พอใจผู้ใหญ่บ้านที่เปนนักเลงฉันนั้น เพราะผู้ใหญ่บ้านเปนผู้มีอำนาจว่ากล่าวลูกบ้านได้ ถ้าผู้ใหญ่บ้านเปนใจด้วยผู้ร้าย ผู้ร้ายไปมาอาศรัยผู้ใหญ่บ้าน ก็ไม่มีใครจับกุม

๙๘ ถามว่า ผู้ร้ายเกรงกลัวพลตระเวนและตำรวจภูธรกับผู้ใหญ่บ้านที่เปนคนแขงแรงในราชการนั้น จะเกรงทางไหนมากกว่ากัน

ตอบว่า เกรงผู้ใหญ่บ้านที่เปนคนแขงแรงมากกว่า เพราะผู้ใหญ่บ้านมีอยู่ทุกแห่ง และเปนผู้รู้จักผู้คนมาก ถ้าเปนคนแขงแรงแล้ว ก็อาจจะเรียกลูกบ้านออกช่วยเปนกำลังได้มาก ๆ ส่านพลตระเวนและตำรวจภูธรนั้น ผู้ร้ายเกรงมากแต่ในลำแม่น้ำ แต่ส่วนบนบก พลตระเวนตำรวจภูธรโดยปรกติอยู่แต่ตามโรงพัก ผู้ร้ายรู้แห่งว่า โรงพักอยู่ที่ใด ไม่ทำร้ายในที่ใกล้ และไม่ต้อนโคกระบือที่ปล้นสดมภ์ไปใกล้โรงพัก ก็แล้วกัน บางทีโรงพักซึ่งไปตั้งอยู่ในที่เปลี่ยวนาน ๆ เข้า พวกตำรวจภูธร