หน้า:สยามแพทย์ - ๒๔๖๗.pdf/11

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
สยามแพทยศาสตร์

เปลือกมูกมัน ๑ จันทน์ทั้ง ๒ สมุลแว้ง ๑ ถกลังกา ๑ ดอกพิกุล ๑ ดอกบุนนาก ๑ ดอกสาระภี ๑ เกสรบัวหลวง ๑ รากขัดมอน ๑ เอาส่วนเท่ากัน ต้ม ๓ เอา ๑ กิน แก้อาโปธาตุพิการหายแล ฯ

เดือน ๒, ๓, ๔, ไข้ใน ๓ เดือนนี้ นอนผิดเวลา ปถวีธาตุกำเริบ ตั้งแต่เกสา คือ ผมพิการ ให้เจ็บรากผม ให้คันสีสะ ๆ มักหงอก มักเปนรังแค ให้เจ็บหนังสีสะเปนกำลัง ขนพิการ ให้เจ็บทั่วสรรพางค์ทุกขุมขน ให้ขนลุกขนพองทั้งตัว เล็บพิการ ให้เจ็บต้นเล็บ ให้เล็บเขียวเล็บดำช้ำโลหิต เจ็บเสียว ๆ นิ้วมือนิ้วเท้า ฟันพิการ ให้เจ็บไรฟัน บางทีให้เปนรัมนาด บางทีให้เปนโลหิตออกตามไรฟัน ให้ฟันหลุดฟันคลอน หนังพิการ มักให้ร้อนผิวหนังทั่วสรรพางค์กาย บางทีให้เปนผื่นขึ้นทั้งตัวดุจหัวผด ให้ปวดแสบปวดร้อนเปนกำลัง ฯ เนื้อพิการ มักให้นอนสดุ้งไม่สมปฤดี นอนไม่หลับไม่สนิท มักให้ฟกบวมขึ้น บางทผุดขึ้นเปนสีแดงสีเขียวทั้งตัว บางทีเปนลมพิษ สมมติว่าเปนประดง เปนเหือด เปนหัดต่าง ๆ เอ็นพิการ ให้จับสบัดร้อนสบัดหนาว ให้ปวดสีสะเปนกำลัง ท่านเรียกว่า อำพฤกกำเริบ แล กระดูกพิการ ให้เมื่อยในข้อในกระดูก สมองกระดูกพิการ ให้ปวดสีสะเปนกำลัง ม้ามพิการ ให้ม้ามหย่อน มักเปนป้างแล หัวใจพิการ ให้คลั่งไคล้ดุจเปนบ้า ถ้ามิดังนั้น ให้หิวโหยหาแรงมิได้ ให้ทุรนทุรายยิ่งนัก ตับพิการ ให้ตับโตทรุด มักเปนฝีในตับ กาฬขึ้นในตับ พังผืดพิการ ให้เจ็บ ให้จุกเสียด ให้อาเจียน ให้แดกขึ้นแดกลง ปวดขัดเปนกำลัง ปอดพิการ ให้เจ็บปอด ให้เปนพิษ ให้กระหายน้ำเปนกำลัง กินน้ำจนปอดลอยจึงหายอยาก ไส้น้อยพิการ ให้สอึด ให้หาว ให้เรอ ไส้ใหญ่พิการ ให้พะอืดพะอม ให้ท้องขึ้นท้องพอง มักเปนท้องมาน ลมกระสาย บางทีให้ลงท้อง ตกมูก ตกโลหิต ให้เปนไป