หน้า:สัญญากรุงเทพฯ กับกรุงอังกฤษเป็นทางไมตรีค้าขายกัน (๒๓๓๙).pdf/12

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๒

เสนาบดีฝ่ายไทจะไม่ห้ามปราม ถ้าคนที่มีมุนนายจะมารับจ้างอยู่กับคนอยู่ในบังคับอังกฤษ มุนนายไม่รู้ มุนนายจะมาเอาตัวไป ก็เอาไปได้ ถ้าคนในบังคับอังกฤษไปจ้างคนในใต้บังคับไทเปนลูกจ้าง ไม่ได้ทำสัญากับมุนนายเขา ภายหลังถ้าเกี่ยวข้องสิ่งหนึ่งสิ่งใด เสนาบดีฝ่ายไทไม่ชำระให้ ๚ะ

ข้อ  ว่า กำปั่นรบจะเข้ามาทอดน่าด่านเมืองสมุทปราการ เข้ามาทอดได้ แต่จะขึ้นมาณกรุงฯ ไม่ได้ เมื่อกำปั่นรบชำรุดจะตอ้งเข้าอู่ เสนาบดีเจ้าเมืองกรมการเหนว่า ชำรุดจริง จะยอมให้เอามาเข้าอู่ ถ้าจะมีขุนนางถือหนังสือพระเจ้าแผ่นดินกรุงบริตเตนให้ขี่กำปั่นรบเข้ามาณกรุงฯ จะให้ขึ้นมาแต่ลำเดียว ตอ้งให้ขึ้นมาทอดอยู่ใต้ป้อมป้องปัจามิตร ป้อมปิจปัจจนึก อย่าให้ขึ้นมาพ้นป้อม เว้นไว้แต่เสนาบดีจะโปรดให้ขึ้นมาพ้นป้อม จึ่งขึ้นมาได้ ถ้าไม่มีเรือรบอังกฤษอยู่ในกรุงฯ คนอยู่ในบังคับอังกฤษจะวิวาทกันขึ้น กงซุลจะไประงับ ไทจะให้ทหารไปชว่ยกงซุลระงับภอระงับได้ ๚ะ

ข้อ  ว่า ค่าธรรมเนียมปากเรือที่เคยเรียกแต่ลูกค้าอังกฤษตามสัญาเก่าซึ่งทำไว้ในกฤษศักราช ๑๘๒๖ ปีนั้น จะยอมเลิกเสียตั้งแต่หนังสือสัญานี้ใช้ได้ พ้นนั้นไป จะตอ้งเสียแต่ภาษีสิ่งของฃาเข้าฃาออก สินค้าฃาเข้าจะตอ้งเสียภาษี ๑๐๐ ละสาม จะเสียเปนของฤๅจะเสียเปนเงินคิดราคาตามราคาทอ้งน้ำ สุดแต่ใจเจ้าของจะเสีย ถ้าของเสียภาษี ๑๐๐ ละสามแล้ว ของจำหน่ายไม่ได้ จะเหลือกลับออกไปมากนอ้ยเท่าใด ตอ้งคิดภาษีสิ่งของที่เหลือคืนให้แก่เจ้าของให้ครบ ถ้าราคาสิ่งของไม่ตกลงกัน ตอ้งไปบอกกงซุล ๆ จะเรียกพ่อค้าคนหนึ่งฤๅสองคน เจ้าพนัก