หน้า:สัญญากรุงเทพฯ กับกรุงอังกฤษเป็นทางไมตรีค้าขายกัน (๒๓๓๙).pdf/28

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๘

ทังนั้นท่านเสนาบดิพวกนั้นได้ตามรับสั่งได้ภบพูดจาปฤกษากับมิคปากเพื่อความประสงค์นี้หลายครั้งหลายเวลา แลได้คิดอ่านกันว่าดว้ยเนื้อความที่มิศปากนำมาชี้แจงข้อความเอาใจใส่ท่านเสนาบดี แล้วจึ่งได้สันนิฐานตกลงกันว่าดั่งนี้ เหนเปนสมควรเพื่อประโยชน์จะปอ้งกันวิวาทแลลว่งเกินที่จะมีในภายน่า ข้อความในหนังสือสัญญ่าเก่าข้อใดที่หนังสือสัญญาใหม่ล้าง ให้ว่าออกเปนจำพวกเสียให้ชัด แลหนังสือสัญญาใหม่ข้อใดที่ไม่สอาดมัวอยู่ ก็จะตอ้งว่าอธิบายเสียให้เตมบริบูรณ เหตุดั่งนี้ ท่านเสนาบดีก็ยอมเปนอันสุดลง ๑๒ ข้อ ๚ะ

 เรื่องข้อ ๑ ว่าดว้ยหนังสือสัญญาเก่าที่ทำไว้ในกฤษศักราช ๑๘๒๖ ปี
  ข้อ  ว่า ท่านเสนาบดียอมว่า หนังสือสัญญาเก่าข้อ 
ข้อ 
ข้อ ๑๑
๑๒
ข้อ ๑๓
๑๔
คงไว้ตามเดิม แต่ความในข้อ ๖ ฝ่ายไทฃอเหลือไว้ว่า ถ้าลูกค้าไทแลลูกค้าอังกฤษก็ดี ซื้อฃายไม่สืบสวนให้แน่นอนว่าคนดีคนชั่ว คนในบังคับไทคนในบังคับอังกฤษ ซื้อฃายปะคนชั่วภาเอาของหนีไป เจ้าเมืองกรมการฝ่ายไทฝ่ายอังกฤษจะสืบสวนเอาตัวมาชำระให้โดยสุจริต ถ้าไม่ได้ตัวผู้ที่หนีไปฝ่ายเจ้าเมืองกรมการไท ฝ่ายเจ้าเมืองกรมการอังกฤษ ถ้ามีเงินมีของ จะใช้ให้ก็ได้ ถ้าไม่มีเงินไม่มีของให้ แลมิได้ตัวลูกนี่ ก็เพราะลูกค้าทำผิดเอง จะเอาใช้กับผู้ครองบ้านครองเมืองไม่ได้ กับความในข้อ ๑๐ ฝ่ายมิศปากฃอให้คงไว้ว่า ลูกค้าชาวอาเซียมิใช่มอญมิใช่พม่า แลบุตรหลานชาวยุรบอยู่ในเมืองมฤท เมืองทวาย เมืองตะนาว เมืองเย ซึ่งขึ้นกับอังกฤษ จะเข้ามาค้าฃายณเมืองไท อังกฤษจะมีหนังสือเข้ามาเปนสำคัญให้ได้ค้าฃายทางบกทางน้ำโดยสดวก มิศปากฃอแก้เข้าว่า ให้ลูกค้าทังปวงไม่เว้นใครซึ่งเปนคนในบังคับอังกฤษจะเข้ามาค้าฃายได้เหมือนกัน ท่านเสนาบดี