หน้า:สัญญา สยาม-อังกฤษ (๒๔๕๑-๐๓-๑๐).pdf/10

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เล่ม ๒๖ น่า ๗๑๐
วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๑๒๘
ราชกิจจานุเบกษา


แต่อำนาจเรียกถอนคดีนี้จะต้องเลิก ไม่ใช้ในคดีทั้งปวงซึ่งอยู่ในกฎหมายลักษณต่าง ๆ ฤๅพระราชบัญญัติที่ได้ประกาศออกตามแบบอย่างนั้น ในทันทีเมื่อได้ส่งกฎหมายฤๅพระราชบัญญัตินั้นให้สถานทูตอังกฤษที่กรุงเทพฯ ทราบแล้ว ถ้ามีคดีซึ่งพิจารณาค้างอยู่ในเวลาที่ส่งกฎหมายเช่นว่านี้ กระทรวงต่างประเทศ กับสถานทูตอังกฤษณกรุงเทพฯ จะได้ปฤกษาตกลงกันเพื่อที่จะให้พิจารณาคดีที่ค้างอยู่นั้นณศาลใดต่อไปให้สำเร็จตลอดด้วย

ข้อ  คดีทุกเรื่อง ในศาลต่างประเทศก็ดี ในศาลฝ่ายสยามตามธรรมเนียมก็ดี ซึ่งคนในบังคับอังกฤษเป็นจำเลยฤๅผู้ต้องหานั้น ในศาลชัน้ต้น ต้องให้มีที่ปฤกษากฎหมายที่เป็นชาวยุโรปมานั่งด้วยผู้หนึ่ง

ถ้าเป็นคดีที่คู่ความเป็นคนในบังคับอังกฤษ เกิดเป็นคนอังกฤษ ฤๅที่แปลงชาติเป็นอังกฤษ แต่มิใช่เป็นชาติเชื้อชาวเอเซีย ก็ต้องให้มีที่ปฤกษากฎหมายที่เป็นชาวยุโรปผู้หนึ่งนั่งเป็นผู้พิพากษาพิจารณาความในศาลชั้นต้นนั้นด้วย แลในคดีที่คนในบังคับอังกฤษอย่างเช่นว่านี้เป็นจำเลยฤๅเป็นผู้ต้องหาแล้ว คำพิพากษาต้องเป็นไปตามความเห็นของที่ปฤกษากฎหมายนั้น

คนในบังคับอังกฤษที่เป็นจำเลยฤๅผู้ต้องหาในคดีอย่างหนึ่งอย่างใดที่เกิดในหัวเมือง จะขอให้โยกย้ายคดีไปพิจารณาที่ศาลอื่นก็ได้ แลถ้าศาลเห็นสมควรที่จะโยก ก็ให้เอาคดีนั้นมาพิจารณา