หน้า:สัญญา สยาม-อังกฤษ (๒๔๕๑-๐๓-๑๐).pdf/4

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เล่ม ๒๖ น่า ๗๐๔
วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๑๒๘
ราชกิจจานุเบกษา


ได้ประกาศใช้กฎหมายรวมลักษณต่าง ๆ คือ กฎหมายลักษณอาญาโทษ กฎหมายลักษณแพ่งแลการค้าขาย กฎหมายลักษณวิธีพิจารณาคดี แลกฎหมายลักษณพระธรรมนูญจัดตั้งศาล

บรรดาคนในบังคับอังกฤษในกรุงสยามนอกจากผู้ที่ว่ามาข้างต้นนี้แล้ว จะต้องอยู่ในอำนาจศาลฝ่ายสยามตามธรรมเนียมของบ้านเมือง แลตามความที่กล่าวไว้ในสัญญาว่าด้วยอำนาจศาล

ข้อ  คนในบังคับอังกฤษจะได้มีกรรมสิทธิ์เหมือนคนในพื้นเมืองตลอดทั่วกรุงสยาม คือ กรรมสิทธิ์ในการถือทรัพย์ที่ดิน กรรมสิทธิ์ในการที่จะอยู่ฤๅจะเที่ยวไปแห่งใด ๆ ได้

คนเหล่านี้ แลทรัพย์สมบัติของคนเหล่านี้ จะต้องเสียภาษีอากรแลส่วยฤๅการเกณฑ์ใช้ราชการทุกอย่าง แต่ต้องเป็นภาษีอากรแลส่วนฤๅการเกณฑ์ที่ไม่หนักยิ่งกว่าฤๅไม่ผิดกันกับที่กฎหมายกำหนดฤๅจะได้กำหนดให้ใช้สำหรับคนในบังคับสยาม แลเป็นที่เข้าใจกันชัดเจนด้วยว่า ความในหนังสือสัญญาน้อย ลงวันที่ ๒๐ กันยายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๙ คฤสตศักราช ๑๙๐๐ ซึ่งจำกัดภาษีที่ดินมิให้เก็บเกินกว่าอัตราภาษีสำหรับที่ดินเช่นเดียวกันในเมืองพม่าฝ่ายใต้นั้น เป็นอันยกเลิกเสียโดยหนังสือสัญญานี้

คนในบังคับอังกฤษในกรุงสยามนั้น จะให้ยกเว้นจากการเกณฑ์เป็น