หน้า:หลักภาษาไทย อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณะ.pdf/15

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

(๗) เรียก นฤคหิต หรือหยาดน้ำค้าง สำหรับเขียนข้างบนลากข้างเป็นตระ อำ, บนพินทุ์ อิ เป็นสระ อึ ในภาษาบาลีและสันสกฤตท่านจัดเป็นพยัญชนะเรียกว่า นิคหิต หรือ นฤคหิต สำหรับเขียนบนสระในภาษาบาลีอ่านเป็นเสียง ง สะกด เช่น กํ กึ กํุ อ่าน กัง กิง กุง ในภาษาสันสกฤตอ่านเป็นเสียง ม สะกด เช่น กํ กึ กํุ อ่าน กัม กิม กุม โบราณก็นามาใช้บ้าง เช่น ชํุ นํุ อ่าน ชุมนุม ฯลฯ

(๘) " เรียก ฟันหนู สำหรับเขียนบน พินทุ์ อิ เป็นสระ อือ และประสมกับสระอื่นเป็นสระ เอือะ เอือ

(๙) ุเรียก ตีนเหยียด สำหรับเขียนข้างล่างเป็นสระ อุ

(๑๐) ู เรียก ตีนคู้ สำหรับเขียนข้างล่างเป็นสระ อู

(๑๑) เ เรียก ไม้หน้า สำหรับเขียนข้างหน้า รูปเดียวเป็นสระ เอ สองรูปเป็นสระ แอ และประสมกับรูปอื่นเป็นสระ เอะ แอะ เอาะ เออะ เออ เอียะ เอีย เอือ เอา

(๑๒) ใ เรียก ไม้ม้วน สำหรับเขียนข้างหน้าเป็นสระ ใอ

(๑๓) ไ เรียก ไม้มลาย สำหรับเขียนข้างหน้าเป็นสระ ไอ

(๑๔) โ เรียก ไม้โอ สำหรับเขียนข้างหน้าเป็นสระ โอ และเมื่อประวิสรรชนีย์เข้าเป็นสระ โอะ

(๑๕) อ เรียกตัว ออ สำหรับเขียนข้างหลังเป็นสระ ออ และประสมกับรูปอื่นเป็นสระ อือ (เมื่อไม่มีตัวสะกด) เออะ เออ เอือะ เอืย

(๑๖) ย เรียกตัว ยอ สำหรับประสมกับรูปอื่นเป็นสระ เอียะ เอีย