หน้า:หลักภาษาไทย อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณะ.pdf/16

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

(๑๗) ว เรียกตัว วอ สำหรับประสมกับรูปอื่นเป็นสระ เอียะ เอีย

(๑๘) ฤ เรียกตัว รึ สำหรับเขียนเป็นสระ ฤ

(๑๙) ฤๅ เรียกตัว รือ สำหรับเขียนเป็นสระ ฤๅ

(๒๐) ฦ เรียกตัว ลึ สำหรับเขียนเป็นสระ ฦ

(๒๑) ฦๅ เรียกตัว ลือ สำหรับเขียนเป็นสระ ฦๅ

ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ๔ ตัวนี้เป็นสระมาจากสันสกฤต จะเขียนโดด ๆ ก็ได้ ประสมกับพยัญชนะก็ได้ แต่ใช้เขียนข้างหลังพยัญชนะ

เสียงสระ

ข้อ ๖. ถึงแม้ว่าเสียงสระจะเป็นเสียงแท้ ซึ่งเปล่งออกมาจากลำคอก็ดี แต่ก็ต้องอาศัยฐานคือที่เกิดบ้างเล็กน้อยเหมือนกัน แต่ไม่ต้องใช้ลิ้นหรือริมฝีปากให้มาก จนทำให้เสียงแปรไปเป็นพยัญชนะ ในภาษาไทยมีเสียงสระต่างกันเป็น ๓๒ เสียง ซึ่งประกอบขึ้นด้วยรูปสระ ๒๑ ข้างต้น ดังนี้:–

  • อะ
  • อิ
  • อึ
  • อุ
  • เอะ
  • แอะ
  • โอะ
  • เอาะ
  • เออะ
  • อา
  • อี
  • อื
  • อู
  • เอ
  • แอ
  • โอ
  • ออ
  • เออ
  • เอียะ
  • เอือะ
  • อัวะ
  • อำ
  • ไอ
  • ใอ
  • เอา
  • เอีย
  • เอือ
  • อัว
  • ฤๅ
  • ฦๅ