หน้า:หลักภาษาไทย อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณะ.pdf/21

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๑

นักเรียนต้องจดจำได้ด้วย[1] เพราะต่อไปจะต้องใช้เปรียบเทียบกับพยัญชนะไทย

การที่พยัญชนะไทยมีมากกว่าเดิมนั้น เป็นเพราะไทยเพิ่มเติมขึ้นทีหลัง

รูปเครื่องหมายกำกับพยัญชนะ ข้อ ๑๒. ไทยเราเขียนตัวพยัญชนะเฉย ๆ แล้วอ่านเป็นเสียงสระ อะ ประสมอย่างบาลีและสันสกฤตมีอยู่มาก และเขียนติด ๆ กันไป เช่น ‘วินย’ ดังนี้จะอ่านว่า ‘วิน–ยะ’ หรือ ‘วิ–นะ–ยะ’ ก็ได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีเครื่องหมายบังคับ เพื่อจะให้อ่านได้ถูกต้อง มี ๓ รูปดังนี้:–

-์ เรียก ทัณฑฆาต สำหรับเขียนข้างบน เพื่อให้รู้ว่าเป็นตัวการันต์ไม่ต้องอ่าน เช่น ‘ฤทธิ์’ ตัว ธิ ไม่ต้องอ่าน สำหรับภาษาไทยนี้อย่างหนึ่ง สำหรับคำบาลีและสันสกฤต เพื่อให้รู้ว่าเป็นตัวสะกด เช่น ‘สิน์ธู’ ตัว น เป็นตัวสะกดนี้อย่างหนึ่ง

-๎ เรียก ยามักการ สำหรับเขียนไว้ข้างบนในภาษาบาลีและสันสกฤตเพื่อให้รู้ว่าเป็นอักษรควบกัน เช่น ‘คัน์ต๎วา, พ๎ราห๎มณ’ ฯลฯ

-ฺ เรียก พินทุ สำหรับเขียนไว้ข้างล่างตัวพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤต เพื่อให้รู้ว่า เป็นตัวสะกดหรือตัวควบแล้วแต่ควร

เช่น คนฺตฺวา อ่าน คัน์ต๎วา ภนฺเต อ่าน ภัน์เต ตุมฺเห อ่าน ตุม์–เห ฯลฯ

วิธีเขียน คำบาลีและสันสกฤตตามแบบพินทุนี้ไท่ต้องใช้ไม้หันอากาศ เพราะพยัญชนะภาษาบาลีและสันสกฤตสมมติว่ามีสระ อะ อยู่ในตัวแล้ว เมื่อมีตัวสะกด ก็ต้องอ่านเป็นเสียงสระอะมีตัวสะกด เช่น


  1. หากตามฉบับ พ.ศ. 2539 โดยไทยวัฒนาพานิชย์ที่ผู้คัดลอกนำมาใช้อ้างอิงความถูกต้อง ถ้อยคำจะเป็น "นักเรียนต้องจดจำไว้ด้วย"